เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การทำกล้วยเล็บมือนางอบแห้ง

ประวัติความเป็นมา
เดิมนั้นเกษตรกรปลูกกล้วยเล็บมือนางเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เพิ่งมีการส่งเสริมกันอย่างจริงจังภายหลังเกิดเหตุพายุเกย์ในปีพ.ศ. 2532 เนื่องจากให้ผลผลิตที่รวดเร็ว ปลูกไว้ไม่นานก็ขายได้ หลังจากนั้นก็เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และนิยมรับประทานกันมาจนถึงปัจจุบัน กล้วยเล็บมือนางจะแปลกว่ากล้วยชนิดอื่น คือเป็นกล้วยที่ปลูกโดดเดี่ยวไม่ได้ ต้องปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแซม ชาวบ้านบอกว่าเป็นกล้วยขี้เหงา ซึ่งจริงๆแล้วกล้วยชนิดนี้ไม่ชอบแดดจัด จำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้ชนิดอื่น จึงจะเจริญเติบโตเต็มที่และให้ผลผลิตดี
กล้วยเล็บมือนางของจังหวัดชุมพรเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง จากการบอกเล่าของผู้บริโภคว่ากล้วยเล็บมือนางของจังหวัดชุมพร มีรสชาติหอม หวาน อร่อยกว่ากล้วยเล็บมือนางที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ เนื่องจากด้วยพันธุ์กล้วย ด้วยสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ และจากการที่เกษตรกรจำนวนมากนิยมปลูกกล้วยเล็บมือนาง ผลผลิตล้นตลาด จึงนำกล้วยเล็บมือนางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น กล้วยเล็บมือนางอบ กล้วยเล็บมือนางอบเคลือบคาราเมล กล้วยเล็บมือนางอบกรอบ กล้วยเล็บมือนางอบกวน กล้วยเล็บมือนางอบเคลือบช๊อคโกแล็ต ฯลฯ ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตลอดมา เหมาะที่จะเป็นของฝากและของกินเล่น
ร้านกอบกูล ตั้งอยู่ที่ 348/5 หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ได้แปรรูปกล้วยเล็บมือนางเน้นการแปรรูป กล้วยอบโดยได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอท่าแซะ ได้ส่งผลิตภัณฑ์กล้วยอบ เข้ารับการคัดสรรระดับประเทศ ปี 2553 ผลการคัดสรรได้ ระดับ 5 ดาว


เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
          ลักษณะเด่นของกล้วยเล็บมือนางอบ คือ เน้นรสชาติดั้งเดิมไม่มีการปรุงแต่ง รส กลิ่น สี เป็นรสชาติของกล้วยเล็บมือนาง 100% การผลิตการบรรจุภัณฑ์จะเน้นด้านความสะอาด ถูกหลักอานามัย และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเหมาะที่จะเป็นของฝาก
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. กล้วยเล็บมือนาง
2. ตู้อบ
3. แผงสำหรับอบกล้วย

ขั้นตอนการผลิต
1. บ่มกล้วยดิบที่แก่จัด ใช้เวลา 4 วัน 4 คืน
2. นำกล้วยสุกงอมจัดได้ที่ มาปอกเปลือกตัดหัวตัดท้ายเอาเส้นใยออก
3. นำกล้วยปอกเปลือกแล้ว มาใส่กาละมัง ร่อนกระแทกเพื่อให้กล้วยมีน้ำหวานออกมาใส่แผงสำหรับอบกล้วยหรือ ตะแกรง
4. นำกล้วยที่กระแทกแล้วเข้าตู้อบลมร้อน ใช้อุณหภูมิ 50-60 องศา ใช้เวลา 3- 4 ชั่วโมง
5. นำกล้วยออกจากตู้อบ มาจัดเรียงใส่แผงสำหรับอบกล้วยหรือตะแกรงให้สวยงาม
6. นำกล้วยที่จัดเรียงเรียบร้อยแล้วเข้าตู้อบลมร้อนใช้เวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง
7. ทำการสลับแผงกล้วยอบเพื่อให้ได้รับความร้อนทั่วทั้งแผงที่อบ
8. ใช้เวลาในการอบอีก ประมาณ 10 ชั่วโมง
9. เก็บกล้วยอบที่แห้งดีแล้วใส่ภาชนะ
10. บรรจุกล้วยอบในบรรจุภัณฑ์ ให้ได้น้ำหนักตามกำหนด ปิดผนึก ติดฉลากเพื่อส่งจำหน่าย
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
ขึ้นอยู่กับการเลือกวัตถุดิบคือกล้วยต้องแก่จัด จึงจะให้คุณภาพดี โดยมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
  • ตัดลูกจากปลายหวีมาปาดดูให้มีสีเหลืองเข้ม ถ้ายังเหลืองเรื่อๆหรือขาว แสดงว่ากล้วยยังไม่แก่จัด
  • สังเกตจากเล็บ (อยู่ส่วนปลายของลูกในแต่ละหวี) ถ้าเล็บดำแห้งใช้ได้ หากยังสดเขียวใช้ไม่ได้
ดาวน์โหลดเนื้อหาในหน้านี้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ