เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปลูกมะระจีน

การปลูกมะระจีน
มะระเป็นพืชเถาว์เจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด ผัด แกงจืด แกงเผ็ด รับประทานสดๆ คู่กับน้ำพริกแมงดาก็อร่อย มะระได้รับความนิยมค่อนข้างสูง
มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นสมุนไพรช่วยป้องกันและบำบัดโรคได้หลายชนิด
          ใบ มีรสขม ต้มดื่มแก้ไช้หวัด ไช้ตัวร้อน บำรุงนำดี ดับพิษฝีที่ร้อน แก้ปากเปื่อย เป็นขุม
         ลูก รสขม แก้ตับม้ามพิการ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิในท้อง แก้ลมเข้าข้อ แก้ปวดบวมตามเข่า ลดน้ำตาลในเลือด ต้มน้ำกินแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ผลแห้งบดเป็นผงแก้คันได้
         ราก ใช้รากสดตำพอกแก้อาการปวดฟัน ใช้รากสดหนัก 4 บาท น้ำกรวดหนัก 4 บาท ต้มกินน้ำ แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกได้ดี (น้ำหนักที่เรียกว่า บาท นั้นเป็นหน่วยชั่งทางการแพทย์สมุนไพร หรือ น้ำหนัก ที่ใช้ชั่งตวงสมุนสมุนไพร
        การปลูกมะระ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เป็นพืชที่ทำเงินได้เร็ว มะระได้มีการปรับปรุงให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น มะระเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง หากเป็นที่ลุ่มเกษตรกรต้องยกร่องให้พ้นน้ำ การเตรียมดิน เมื่อทำการไถให้เกษตรกรปรับสภาพดินด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และเสริมด้วยน้ำหมักชีวภาพ นำเมล็ดเพาะลงในแปลงเพาะประมาณ 15 วัน ก็ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก ระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 800 ต้น
        การทำค้าง ใช้ไม้รวกขนาดความยาว 2 เมตร มัดเป็นระยะๆ ขึงด้วยเชือกไนล่อนทั้งในแนวยาว และ แนวขวาง ต้นมะระก็จะเลื้อยไปบนค้าง และผลก็จะห้อยลงด้านล่าง ใบก็จะช่วยพรางแสง ทำให้ผลมีผิวสวย เมื่อมะระโตขนาดความยาว 5-6 นิ้ว ให้ทำการห่อผลด้วยกระดาษ โดยห่อการะดาษให้กลมเหมือนท่อก่อน กะความยาวซักประมาณ 15 นิ้ว แล้วนำไปสวมผลลูกมะระ ปิดหัวท้ายกระดาษด้วยแม็ก หรือกลัดด้วยไม้กลัด ก็ได้ เพื่อป้องกันแมลงเจาะผล ระยะเวลาเพียง 45 วัน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว มะระหากฉีดทางใบและรดราดทางดิน ประกอบกับการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
         หากให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดจะทำให้ต้นมะระสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ให้ผลผลิตถึง 6 ตันต่อไร่ ราคาขายส่งอยู่ที่ระหว่างกิโลกรัมละ 10-15 บาท 1 ไร่จะมีรายได้ 60,000-90,000 บาท/ไร่/ครั้งหนึ่งการเก็บเกี่ยว ในแต่ละรุ่นใช้เวลาการปลูกประมาณ 80-90 วัน เกษตรกรควรทยอยปลูก วางแผนให้มีการเก็บเกี่ยวได้ทุกวัน ให้พอเหมาะกับความต้องการของตลาด ป้อนตลาดได้ตลอดได้ทุกวันตลอดทั้งเดือนทั้งปี เมื่อทิ้งแปลงแล้วให้สลับด้วยพืชตระกูลถั่ว แล้วจึงค่อยปลูกมะระในรอบถัดไป
         ในเวลา 1 ปลูกได้ 2 ครั้ง เท่ากับสร้างปีละ 120,000-180,000 บาท ต่อไร่ต่อปี คิดเพียงแค่การปลุกมะระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หนึ่งปีปลูกมะระ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 เดือน สลับปลูกถั่ว 3 เดือน  2 ครั้ง ถ้าได้กำไรจากการปลูกถั่ว 20,000 บาท ต่อไร่ต่อหนึ่งรอบการปลูก ปลูก 2 รอบก็จะมีรายได้จาการปลูกถั่ว 40,000 บาทต่อไร่ ต่อปี รวมรายได้จากการปลูกถั่วและมะระแล้วจะมีรายได้ทั้งสิ้นประมาณ 40,000+180,000 ก็จะมีรายได้ในปีนั้น  220,000 บาท นี่ถือว่าเป็นรายได้ที่แสนจะคุ้มค่าต่อการลงทุนในพื้นที่ 1 ไร่ ถึงแม้ว่าจะมีรายได้ไมตรงตามนี่ อาจจะต่างกันซัก 60,000 บาท ก็ถือว่าไม่น้อยแล้วสำหรับพื้นที่ 1 ไร่ที่ทำการปลูก เมื่อปลูกมะระ 1 ไร่โดยเฉลี่ยว่า 1 ไร่มีรายได้ 1 แสนบาทต่อปี อยากมีรายได้ 500,000 บาทต่อปีก็ปลูกมะระ 5 ไร่ อยากมีรายได้ 1,000,000 บาทต่อปี ก็ปลูกมะระ 10 ไร่ โดยแนะว่าท่านต้องทยอยปลูกจะทำให้การดูแลง่ายขึ้น  
         ไม่ว่าท่านจะปลูกอะไร กี่ไร่ กี่ครั้ง จำนวนเท่าใด ต้องเอาตลาดเป็นตัวนำ ดูความต้องการของตลาดเป็นหลัก ทางที่ดีการวางแผนท่านควรที่จะสืบค้นตลาดที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ท่านอยู่ โดยศึกษาจากวงแคบๆ จนออกเป็นวงกว้างแล้วตรวจดูความต้องการของตลาดว่าตลาดต้องการผลผลิตประเภทใดมากที่สุด และผลผลิตที่ตลาดมีความต้องการรองลงมาเป็นลำดับ และตรวดดูราคา เช็คคำนวณเวลา ต้นทุน การหมุนเวียน การผสมพืชอย่างอื่นในการปลูก การคำนวณไม่เป็นการยากสำหรับเราที่จะใช้ในการวางแผนเพื่อให้เกิดผลผลิตที่ดีกว่า และ มีรายได้ที่ดีกว่า การทำงานที่มีรูปแบบแผนย่อมมีการทำที่ง่ายกว่า และมีระบบปรับปรุงที่ง่ายกว่าแน่นอนกว่า ตลาดไม่จำเป็นต้องเป็นตลาดส่งผู้ค้านายทุนอย่างเดียว อาจมีการหาตลาดในหมู่บ้าน ผู้บริโภค ร้านค้า ร้านอาหาร โรงงาน ความคิดเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนด้วยเงิน และยังทำให้เกิดในสิ่งที่ดีกว่า เมื่อเราคิดอย่างมีระบบ หาความถูกต้องได้ และผลสำเร็จที่เป็นความจริงที่แน่นอนบนสิ่งนั้นๆ จะทำอะไรต้องมีการวานแผนในสิ่งที่ทำ คิดแบบนี้ ทำแบบนี้ หากยังจนอยู่อีกก็ให้มันรู้กันไปซิ

อ้างอิงที่มาจาก หนังสือ ชี้ช่องทางการทำกิน  โดยอาจารย์   สมพล    รักหวาน
นาย อนุสรณ์  ชลเกษม  ผู้พิมพ์เอกสารฉบับนี้


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ