เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การปลูกมะรุม และการแปรรูป มะรุม

โครงการมะรุมเพื่อชีวิต

Moringa Project for Life

ชื่อสามัญ Horseradish Tree, Drumstick Tree, “Mother’s Best Friend”
ชื่อพื้นเมือง ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม
ชื่อวิทยาศาตร์ Moringa Olifera Lamk.
วงศ์ MORINGACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเรือนยอดกลมและโปร่ง ทนแล้ง เจริญเติบโตเร็ว อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 – 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 – 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 – 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.
มะรุมเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากมีคุณประโยชน์เอนกประสงค์มากมาย มีคุณค่า
ทางโภชนาการสูงสุด เป็นพืชมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้มอบให้กับมวลมนุษยชาติ เพื่อคืนความสมดุลย์ให้แก่ชีวิตมนุษย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้รู้จัก เรียนรู้และใช้ประโยชน์ รวมถึงผู้ด้อยโอกาสที่สามารถบริโภคมะรุมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและ บำบัดอาการเจ็บป่วยด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าและปลอดภัยกว่าการบำบัดด้วยการ แพทย์แผนตะวันตก กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิลว่าเป็นพืชที่รักษาได้ทุกโรค ชาวอินเดียได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง 300 ชนิด องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางโดย เฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัย เจริญเดิบโตในประเทศด้อยพัฒนา เช่น กลุ่มประเทศในอาฟริกาตอนใต้และประเทศอินเดีย กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งประเทศไทยกลุ่มนักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วยโรคงูสวัด แม้แต่กลุ่มประเทศอื่น ๆ เช่น อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย


มะรุมมีคุณประโยชน์ทั้งต้น
ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ใบมะรุมสดใช้กินเป็นอาหารเพื่อเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับชนบทของ ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้นานก็ยังมีคุณค่าทางอาหารสูง
ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้
ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัด ป้องกันมะเร็ง
ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
มล็ด เป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ เป็นยาระบาย ป้องกันมะเร็ง
ราก แก้อาการบวม รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ
เปลือกลำต้น ขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร
ยาง ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส แก้ปวดฟัน ปวดหู หอบหืด
บริษัท เดวี่ กรีนส์ จำกัด ขอนำเสนอโครงการมะรุมเพื่อชีวิตสำหรับชาวไร่ ผู้แปรรูป ผู้ประกอบการ หรือผู้บริโภค ขึ้นกับขอบเขตของความสนใจ จากจุดเริ่มต้นที่บริษัท ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์แท้แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ทำให้บริษัทพิจารณาเห็นโอกาสที่จะพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับมะรุมให้ดียิ่งขึ้น และครบวงจรในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การปลูก การผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่าย การขยายตลาด ฯลฯ ทั้งนี้ บริษัทจะมุ่งเน้นถึงคุณภาพเป็นหลัก ธุรกิจเกี่ยวกับมะรุมเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะ 1-2 ปีนี้ ทำให้เกิดปัญหาการผลิตสินค้าปลอม หลอกลวง หรือไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะผู้ผลิตส่วนใหญ่ในบางประเทศได้ส่งออกน้ำมันมะรุม ปลอม ซึ่งไม่ใช่น้ำมันมะรุม แต่เป็นน้ำมันจากเมล็ดพืชชนิดอื่น หรือเป็นน้ำมันมะรุมแต่เจือปนน้ำมันชนิดอื่นที่ถูกกว่าเข้ามาหลอกผู้ซื้อใน ประเทศไทยจำนวนมาก จำหน่ายในราคาถูก นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางด้านการผลิตอื่น ๆ อีก เช่น การแต่งกลิ่นและสี  ปัญหาเชื้อรา สารปนเปื้อน แคปซูลปลอม ฯลฯ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัญหาเมล็ดมะรุมที่ขณะนี้ได้กลายพันธุ์ เมล็ดขนาดเล็กลงเป็นลำดับ ผลผลิตก็ลดน้อยลงทุกปี ขาดความรู้และเทคโนโลยี่ในการปลูกและผลิต การนำเสนอโครงการมะรุมเพื่อชีวิตก็เพียงหวังจะช่วยพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับ มะรุมให้มีคุณธรรม ได้มาตรฐานและคุณภาพระดับโลกและเมื่อมีความพร้อมเราก็จะสามารถส่งออกแข่งขัน กับประเทศอื่นและนำรายได้กลับสู่ประเทศไทยได้

โครงการมะรุมเพื่อชีวิตมีขอบเขตดังนี้
1) การเตรียมดินและเมล็ด
ความสำเร็จของการปลูกมะรุมขึ้นกับการเตรียมดินซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญ มาก ดินที่เหมาะกับการปลูกควรจะต้องมีลักษณะเป็นดินดำหรือดินแดงที่ร่วนซุย มีค่า pH ที่ 5.5 – 8.0 ได้รับแสงแดด ไม่ควรเป็นดินเหนียวหรือดินที่มีน้ำท่วมขัง เตรียมดินโดยการไถพรวนลึก 2 ฟุต พร้อมกองหญ้า มูลสัตว์และไบโอเอ็นไซม์เพื่อฟื้นฟูดินให้สมบูรณ์และสามารถต้านทานโรคพืช ควรหว่านไถ 2 ครั้งเพื่อกำจัดและลดปริมาณวัชชพืชก่อนการปลูก เพื่อให้ต้นมะรุมได้รับสารอาหารจากดินเต็มที่ ควรขุดร่องน้ำห่างจากแนวยกร่องประมาณ 10 เซ็นติเมตร ลึก 50 เซ็นติเมตรและฝังกลบด้วยใบไม้ มูลสัตว์ ขี้เถ้าและดิน เพื่อเพิ่มผลผลิต

2) การเพาะปลูก
เมล็ดมะรุมที่เหมาะกับการเพาะปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์แท้ซึ่งพัฒนาจาก เมล็ดแม่พันธุ์โดยตรง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงและสม่ำเสมอ จำนวนฝักมากและจำนวนเมล็ดต่อฝักก็มากด้วย เพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านปุ๋ย สารอาหาร เวลา แรงงานและอื่นๆ ที่ใช้ในการเพาะปลูก ขั้นตอนการปลูกเริ่มจากการนำเมล็ดมะรุมพันธุ์แท้มาแช่ไบโอสุพรีมซึ่งเป็นสาร เร่งรากประมาณ 8-12 ชั่วโมงก่อนการปลูกเพื่อเร่งการงอก กระตุ้นและเสริมสร้างระบบรากให้แข็งแรง เพื่อให้ต้นมะรุมเจริญเติบโต การปลูกด้วยเมล็ดที่ให้ผลดีและรวดเร็วควรปลูกในที่ที่ต้องการเพาะปลูกและไม่ โยกย้าย ควรใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 1-2 เมล็ด หยอดในหลุมลึกลงไปประมาณ 3 ซม. ฝังให้ห่างกันประมาณ 1 นิ้วในแต่ละหลุม ระยะห่างแต่ละหลุมประมาณ 2.5 เมตร รดน้ำให้ดินชุ่มอาทิตย์ละหนึ่งหนก็เพียงพอเพื่อไม่ให้ผิวดินแห้ง การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้รากเน่าตายได้ เมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากหว่านประมาณ 5-7 วัน อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์แท้จะสูงมาก ราว 90-95% หากปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์แท้ 2 เมล็ดและต้นกล้าเจริญเติบโตทั้ง 2 ต้น ให้เก็บไว้ ไม่จำเป็นต้องถอนทิ้ง หากจำเป็นต้องปลูกในถุงพลาสติคดำ ให้บรรจุดินผสมทรายและแกลบลงในถุงดำก่อนหยอดเมล็ดลงในถุงดำถุงละ 2 เมล็ด เสร็จแล้วรดน้ำพอชุ่มอาทิตย์ละครั้ง อย่าให้ถึงกับแฉะมาก ควรบำรุงต้นกล้าเมื่ออายุได้ประมาณ 15 วัน ด้วยการฉีดพ่นไบโอสุพรีมทุก 7 วันเพื่อให้ต้นมะรุมแตกรากได้สมบูรณ์ เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มการแตกกอ เมื่อต้นกล้ามะรุมเจริญเติบโตงอกงามและมีอายุประมาณ  1 เดือน ก็จะสามารถย้ายไปปลูกในพืนที่ที่เตรียมไว้ได้ หลังการโยกย้ายใบต้นกล้ามะรุม อาจจะเฉาบ้าง แต่จะยังไม่ตาย ต้นมะรุมจะฟื้นตัวเองภายใน 1 วัน เมื่อต้นมะรุมเติบโตได้ประมาณ 2 เดือนหรือสูงประมาณ 75 เซ็นติเมตรควรเด็ดลำต้นกลางออกเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และจำกัดความสูงของต้น หากจำเป็นให้ทำอีกครั้งเมื่อลำต้นสูงประมาณ 4 ฟุต
3) การบำรุงต้นและใบ
ควรหว่านไบโอเอ็นไซม์เดือนละครั้งเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ปรับสภาพดินให้คงความร่วนซุย และขจัดเชื้อราทางดิน
เมื่อใบมะรุมเริ่มมีสีเขียวจัดและเริ่มแตกตาดอกให้บำรุงด้วยไบโอบูมบูมทุก 7 วัน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นมะรุมและเพิ่มผลผลิต
ปรกติต้นมะรุมสามารถทนแล้งได้ดีแต่ในฤดูแล้งควรรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง และเพื่อเพิ่มผลผลิตควรให้ด้วยระบบน้ำหยดหรือระบบสเปรย์หมอก จะสามารถเพิ่มผลผลิตเป็น 2 เท่า
4) การป้องกันและปราบศัตรูพืช
เมื่อต้นมะรุมมีอายุได้ประมาณ 70 วัน หรือเมื่อพบแมลงและโรคพืช ให้ปราบด้วยน้ำมันสะเดาเข้มข้น ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ไม่เป็นอันตรายต่อชาวไร่และผู้บริโภค
5) การเก็บใบเพื่อนำมาใช้ประโยน์และแปรรูป
ใบมะรุมที่มีประโยชน์นำมารับประทานหรือมาแปรรูปควรเป็นใบที่ไม่อ่อนหรือ แก่เกินไป หรือควรเป็นใบที่เก็บจากต้นมะรุมที่มีอายุประมาณ 4 เดือน การรับประทานใบสดมีประโยชน์และสะดวกสำหรับผู้ที่สามารถปลูกมะรุมด้วยตนเอง แต่คุณประโยชน์จะไม่เทียบเท่าใบมะรุมแห้งในปริมาณเท่ากัน ยกเว้นวิตามินซีซึ่งในใบสดมีมากกว่าเท่านั้น ใบมะรุมสามารถนำมาแปรรูปเป็นผง และบรรจุในแคปซูล ขั้นตอนการผลิตควรระมัดระวังให้ได้มาตรฐาน GMP อย่างต่ำเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภค ไม่ใส่สารแปลกปลอมเช่น สี ส่วนอื่นที่ไม่ใช่ใบ ใบมะรุมแห้งที่ผ่านการอบจะไม่มีสีเขียวสดแน่นอน แคปซูลควรผลิตจากสารธรรมชาติที่ย่อยง่ายและไม่ควรทำจากเม็ดพลาสติค ขบวนการอบจะต้องได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันเชื้อราและเชื่อโรคอื่น ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

6) การเก็บฝักและเมล็ดเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และแปรรูป
เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่าส่วนต่าง ๆ ของมะรุมอ่อนนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงอ่อม ไข่เจียว จิ้มน้ำพริก เป็นต้น ส่วนฝักมะรุมแก่สามารถนำเมล็ดมาบริโภคบำบัดโรคได้หลายชนิด รวมทั้งนำมาบีบน้ำมันได้ น้ำมันมะรุมมีประโยชน์มากมายเช่นเดียวกันแต่ควรจะใช้วิธีสกัดเย็น ไม่ใช้ความร้อน แสะสารเคมีใด ๆ จึงจะมีประโยชน์สูงสุด การสกัดน้ำมันเองมีข้อดีที่สำคัญคือทำให้เชื่อมั่นว่าเป็นน้ำมันมะรุม บริสุทธุ์ไม่เจือปนน้ำมันชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่า หรือปลอมน้ำมันอื่นแล้ว อ้างว่าเป็นน้ำมันมะรุม เมล็ดมะรุมที่มีคุณภาพดีจะสามารถให้น้ำมันได้ถึง 250-300 ซีซี ต่อเมล็ดมะรุมแห้ง 1 กก. ทั้งนี้อาจขึ้นกับเทคนิคการผลิตและเครื่องสกัดเย็นด้วย


จากบางส่วนของหนังสือ มะรุม ต้นไม้เพื่อชีวิตของคุณ วิไลวรรณ อนุสารสุนทรได้ระบุว่าผลจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์คุณค่าทาง โภชนาการของใบมะรุม ดังนี้
มีไวตามีน C มากกว่าส้ม 7 เท่า
มีแคลเซี่ยม มากกว่านม 4 เท่า
มีไวตามีน A มากกว่าแครอท 4 เท่า
มีโปแตสเซี่ยม มากกว่ากล้วย 3 เท่า
มีโปรตีน มากกว่านม 2 เท่า
ประโยชน์จากส่วนต่างๆของต้นมะรุม
ใบสด
เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ควรรับประทานใบสด ที่ไม่แก่ หรืออ่อนเกินไป ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่
เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1 หยด ต่อ 1-2 วัน ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต – 2 ขวบ จึงไม่ควรทาน มากเด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง 3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก
การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สาร อาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมาก ใช้ทำสลัดรวมกับผักสด หรือวางบนแซนวิช
การใช้ใบสดปรุงอาหารต่าง ๆ สามารถทำได้ตามความต้องการและควาถนัด เนื่องจากใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง ฉะนั้นจึงไม่ควรให้ทารกในวัยเจริญเติบโตถึง ๒ ขวบ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
ใบมะรุมสด ก็เหมือนผักใบเขียวทุกชนิด ไม่ควรรับประทานเป็นจำนวนมาก เพราะจัดเป็นยาถ่ายประเภทหนึ่ง เมื่อเริ่มรับประทาน บางท่านอาจจะมีอาการท้องเสีย อาการต่างๆ มิได้เกิดขึ้นกับทุกคน เข้าใจว่าเป็นไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน บางคนอาจจะมีผื่นคัน เป็นลมพิษทันทีหลังรับประทาน
ท่านอาจารย์ สุทธิวัสส์ คำภา ได้ให้คำอธิบายว่า เป็นผลมาจากการที่ร่างกายได้สะสมสารพิษไว้เป็นจำนวนมาก หากเกิดอาการเช่นนั้น ให้หยุดรับประทานชั่วคราว ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้ง อาการจะดีขึ้นตามลำดับ
การรับประทานใบสด ไม่ควรถูกความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียสารอาหารหลายชนิด ใบสดใช้จิ้มน้ำพริก ใสแกง ใส่สลัด และใส่แซนด์วิช ใบสดเปล่าๆจะมีรสเผ็ด แต่เมื่อนำมารับประทานกับข้าวหรือแซนด์วิช จะไม่รู้สึกเผ็ดเลย
การรับประทานน้ำคั้นใบมะรุมสด ดื่มวันละ 1 ช้อนโต๊ะ จะสามารถรักษาอาการของโรคเบาหวานได้และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ด้วย การรับประทานใบสดวันละ 1-3 กิ่ง หรือใช้ประกอบอาหาร จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นหวัด ไม่ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
การรับประทานใบตากแห้งจะให้ผลดีกว่าใบสด เพราะสามารถรับประทานได้มากกว่า สะดวกในการพกพา ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อกระดูก ภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน
ใบตากแห้งสามารถนำใบมาตากแห้งโดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดด เมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพา ในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวัน แต่ใบแห้งจะขาดไวตามินซีและไวตามินบี ตลอลีน และแร่ธาตุบางจำพวกที่สูญหายในระหว่างการทำให้แห้ง ควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืด เช่น ขวดพลาสติกชนิดทึบ เพื่อกันการเสื่อมคุณภาพ แต่คุณสมบัติอื่นๆ ยังคงเดิม เนื่องจากมะรุมเป็นพืชสมุนไพรกลางบ้าน ดังนั้น การให้ได้ผลย่อมช้ากว่ายาแผนสมัยใหม่ การที่จะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องใช้ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจ ร่างกายจะแข็งแรงอยู่เสมอ คนธรรมดาที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคก็สามารถใช้ได้เพื่อป้องกันตัวเองจากการ ติดเชื้อต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดียิ่ง
การทำใบมะรุมตากแห้ง
ก่อนเก็บ 1วัน ให้ฉีดน้ำล้างใบให้สะอาด จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ถ้าตากแดดต้องคลุมผ้าให้มิด ใบแห้งสนิทจะสังเกตได้ง่ายคือใบจะกรอบแตกง่าย ถ้าไม่แห้งให้เปิดเตาอบ อุณหภูมิเท่าแสงแดด ใส่ใบมะรุมเข้าไปอบประมาณ 10 นาที ถ้าจะเก็บไว้ดื่มเป็นน้ำชา ให้เก็บเข้าในขวดที่ทึบที่แสงผ่านเข้าไม่ได้ป้องกันการเสื่อมคุณภาพ หรือบรรจุแคปซูลไว้รับประทาน
การทำใบมะรุมแห้ง
1.วิธีใช้แดดตากแห้ง ให้หักก้านของใบมะรุมออกจากกิ่งแล้วนำไปตากในกระด้งหรือตะแกรงหรือตาข่ายตา ละเอียด เริ่มบ่ายให้กลับเอาด้านล่างขึ้นตกเย็นเอาเก็บในที่อากาศถ่ายเท รุ่งขึ้นพลิกกลับด้านแล้วเอาตากเหมือนเดิม คราวนี้ใบมะรุมทั้งหลายไม่ว่าแก่หรือสาวก็จะทยอยร่วงลงในตะเกรง ครั้นพอถึงเที่ยงให้รูดเอาใบที่ยังติดอยู่กับก้านออกเอาก้านใหญ่ทิ้งก้าน เล็ก ๆ ใช้ได้ ใบอ่อนใบแก่ ยอด ดอก เอาหมดใช้นิ้วลากทั่วตะแกรง เพื่อให้ใบมะรุมเสมอกัน ถ้าแดดดี 2 วันแห้ง แล้วเอาไปปั่นด้วยเครืองปั่นพริก ถ้าจะทำขายปั่นแล้วต้องใช้ ตะแกรงร่อนเอาหยาบๆ ออกมาปั่นใหม่จนหมด ถ้าขณะปั่นเมื่อเปิดฝาโถปั่นออกแล้วไม่เห็นฝุ่นของใบมะรุมแสดงว่ายังมีความ ชื้นอยู่มาก ให้นำไปตากต่ออีกราวครึ่งวันเป็นอันนำมาบดได้
2.แบบใช้เตาอบ ให้ตากใบมะรุมนาน 1 แดดเหมือนวิธีที่ 1 แต่ตากเพียงแค่แดดเดียว พอตกเย็นรูดใบใส่ตะแกรงเอาเข้าเตาอบ 40-50 องศา อบต่ออีก 18 ชั่วโมง และหมั่น กลับทุก 6 ชั่วโมง แห้งแล้วเอามาบดได้ บดเสร็จแล้วใส่ขวดมีฝาป้อกเป็กปิด ตั้งใว้บนโต๊ะอาหารใส่ในข้าวทุกมื้อ 20 วันเท่านั้น โรคแปลกจะทุเลา ทำแล้วครั้งหนึ่งไม่ควรเก็บนาน กว่า 6 เดือน ส่วนดอกที่กำลังบานและเปลือกรากใช้อบให้แห้ง แล้วเอามาชงเป็นชากินลดความดันเบาหวาน ชาดอกมะรุมหอมชื่นใจ ขอบอกภาพเมล็ดมะรุมแห้งแล้ว ใช้สกัดเอาน้ำมันได้ กากใช้กรองน้ำให้สะอาดและทำปุ๋ยหมัก
การทำผงมะรุม
1.บดด้วยเครื่องบดกาแฟ
2.ใส่ครกตำให้ละเอียด
3.ถ้าไม่สามารถหาสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ให้เอาใบมะรุมแห้งใส่ตะแกรงถี่ๆ แล้วใช้แปรงลวดปัดไปปัดมาจะได้ผงมะรุมแห้ง
ผล
รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควร ฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือก เช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อในมาทำแกงกะหรี่ ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิเช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน (เหมือนยำถั่วพลู) สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอดผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่ ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ไก่อบฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริก ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน (จะใส่เนื้อ/ไก่ก็ได้ตามชอบ) ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด เหล่านี้เป็นต้น

ดอกมะรุม
ดอกมะรุมต้องรับประทานสุกเท่านั้น ใช้ต้มทำน้ำชา กลิ่นชาจะช่วยทำให้ นอนหลับสบาย นำมาชุบไข่ทอดหรือทำแกงส้มก็ได้ แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป จะทำให้ท้องเสีย
ฝัก
ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม
ราก
มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก
แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
เปลือกจากลำต้น
มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก) นำเปลือกจากลำต้นมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ รวมกับเปลือกต้นปีป ถ้าไม่มีปีปใช้อย่างเดียวก็ได้นำมาห่อในผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ นึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบ แก้โรคปวดหลังหรือปวดขาได้เป็นอย่างดี * ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท*
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย
จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
กากของเมล็ด
กากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์ เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้


เมล็ด
สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหาร ได้ รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
เมล็ดแก่ เมล็ดมะรุมก็เช่นเดียวกับใบมะรุมมีคุณค่ามหาศาล เพียงวันละ 1 เม็ดก่อนนอน จะช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เมื่อการขับถ่ายกลับเป็นปกติ ขอแนะนำควรหยุดทานเพราะเมล็ดมะรุมเป็นยาปฏิชีวนะอย่างอ่อน
น้ำมันมะรุม นอกจากประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว เมล็ดมะรุมยังให้น้ำมันที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศอีกด้วย สรรพคุณใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้ ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น


สรรพคุณต่างๆ ของน้ำมันมะรุม
1.ใช้ปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับน้ำมันมะกอก
2.ช่วยบำรุงผิวแห้งให้ชุ่มชื้น และช่วยชลอความเหี่ยวย่นของผิว
3.ช่วยรักษาโรคเชื้อราตามผิวหนัง เช่น น้ำกัดเท้า
4.ช่วยรักษาแผลถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็กๆน้อยๆ
5.ลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง
6.ลดอาการปวดบวมของโรคไขข้ออักเสบ, โรคเก๊าท์
7.ช่วยรักษาอาการแผลในช่องปาก
8.นวดกระชับกล้ามเนื้อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
9.ช่วยบรรเทาอาการเกิดสิวบนใบหน้า
10.ช่วยลดจุดด่างดำของผิว
11.ใช้นวดศีรษะรักษาโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ
12.ช่วยถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
13.บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
14.ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นประจำบ้าน ทำให้สิ่งของไม่เป็นสนิม
วิธีทำน้ำมันมะรุม นำเมล็ดมะรุมที่แห้งคาต้น(ต้องแห้งคาต้น) มาบดให้ละเอียด ใส่หม้อ เติมน้ำให้ท่วมเป็น2เท่า ตั้งไฟเดือดแล้วหรี่ไฟลง เคี่ยวไฟอ่อนๆ ไปเรื่อยๆ พอน้ำเริ่มงวด น้ำมันจะซึมขึ้นมา เช่นเดียวกับการทำ น้ำมันมะพร้าว ถ้ามีน้ำเหลือติดนิดหน่อยไม่เป็นไร ทิ้งให้เย็นแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง บีบน้ำมันออกให้มากที่สุด นำน้ำมันที่บีบได้ ไปตั้งไฟอ่อนๆอีกครั้ง เพื่อให้น้ำระเหยออกให้หมด พอเย็นกรอกใส่ขวด เก็บไว้ใช้ได้นาน
วิธีทำน้ำมันมะรุมด้วยวิธีนี้คุณประโยชน์จะสูญเสียไปเนื่องจากความร้อน วิธีการสกัดเย็นจากเครื่องบีบอัดแบบสกรูเพรสจะคงคุณประโยชน์ของเมล็ดมะรุม ได้ดังเดิม

ด้วยความอนุเคราะห์จากการรวบรวมข้อมูลของ
อาจารย์ลัดดาวรรณ อินทร์ดี

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี

อำเภอเมืองอุดรธานี

อุดรธานี

41000
ดาวน์โหลดเนื้อหาในหน้านี้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ