เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์





การปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์
          ชมพู่ ทับทิมจันทร์ เป็นผลไม้ที่โดดเด่น ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเหนือชมพู่พันธุ์อื่นใด สร้างความสำเร็จให้กับผู้ปลูกมามากต่อมาก ขณะเดียวกันผู้ปลูกจำนวนมากประประสบความสำเร็จในช่วง 2-3 ปี แรก หลังจากนั้นขาดทุน ต้องทิ้งสวนหรือโค่นทิ้ง ปลูกพืชอย่างอื่นกันมากมายเช่นกัน ทำไมเกษตรกรบางคนปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ แล้วสำเร็จอย่างยั่งยืน บางคนสำเร็จแบบชั่วคราว คิดเหมือนกันแต่ได้ผลแตกต่างกัน เดี๋ยวผมจะไขปริศนาให้ทราบ
          ชมพู่ ทับทิมจันทร์ ปลูกได้ทุกสภาพดิน ถ้าหากเกษตรกรมีหลักคิดว่าดินปรับปรุงได้ ดินจะดีไม่ดีอยู่ที่เราปรับปรุงบำรุง ดินที่ดีอยู่เดิมหากเราไม่รู้จักปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ช้าดินก็เสื่อม และปลูกพืชอะไรก็ไม่ได้ผล ดินที่ไม่มีคุณภาพ หากเรารู้จักปรับปรุงบำรุงดิน โดยเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ไม่นานดินก็จะสมบูรณ์ ปลูกพืชชนิดใดก็ได้ผล การเลือกพื้นที่ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ จะต้องดูแหล่งน้ำเป็นหลัก เพราะพืชชนิดนี้ต้องการน้ำมาก แต่ก็ไม่ชอบน้ำท่วมขัง กานปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ในพื้นที่ลุ่ม เกษตรกรจะต้องยกร่อง ขนาดความกว้างของร่อง 6-8 เมตร ความสูงขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ การปลูกนำกิ่งพันธุ์มาปลูก โดยปลูกแถวเดียวในแต่ละร่อง คือปลูกตรงกลางร่อง ระยะห่างห่างระหว่างต้นประมาณ 6-7 เมตร ไร่ ปลูกได้ประมาณ 33 ต้น การปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ จะต้องหลีกเลี่ยงสารเคมีโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าหญ้ายาฆ่าแมลง หรือ ปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ ซึ่งจากการสอบถามของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ กับ คุณ ธนิกา เสมอภพ เจ้าของสวนสวนชมพู่ทับทิมจันทร์ที่ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้ทราบว่าชมพู่ทับทิมจันทร์เป็นคู่อริกับสารเคมีทุกชนิด
       ไม่เว้นแม้แต่ปุ๋ยเคมี คุณ ธนิกา เสมอภพ ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์บนร่องสวน ใช้ความห่างประมาณ 7-8 เมตรต่อต้น ในช่วง 3 ปีแรกได้ผลผลิตดีมาก หลังจากนั้นผลผลิตเริ่มลดลง รสชาติความหวานก็เปลี่ยนไป เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ดินเริ่มเสื่อม คงจะเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า ชมพู่นี้เป็นชมพู่ทับทิมจน หลังจากที่คุณ ธนิกา เสมอภพ ได้ฟังรายการ บ้านเราเมืองเรา ที่ผู้เขียนดำเนินรายการอยู่ ได้พูดถึงปุ๋ยหมักปลา คุณธนิกา ก็ทำปุ๋ยหมักปลาเอามารดน้ำต้นชมพู่เดือนละครั้ง ชมพู่ก็กลับพื้น ใต้ผิวดินมีไส้เดือนมากขั้น ชมพู่มีรสหวานดังเดิม
          ชมพู่ทับทิมจันทร์จะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคม จะทยอยอกดอกทั้งปี ไปสิ้นสุดในเดือนเมษายน จะพักต้น 3 เดือน เมื่อชมพู่เริ่มติดดอก เกษตรกรจะต้องแต่งช่อผลโดยปลิดลูกออกให้เหลือช่อละ 4 ผล ปริมาณนี้เมื่อเติบโตเต็มที่จะเป็นที่ต้องการของตลาด คือ ขนาด 6-7 ผล ต่อ กิโลกรัม เมื่อแต่งช่อผลแล้วก็ทำการห่อช่อผลด้วยถุงพลาสติก ป้องกันแมลงเข้าไปกัดกิน
          การป้องกันแมลงให้ใช้สารสมุนไพรชีวภาพ ประกอบด้วย หัวข่าแก่ ตะไคร้หอม สะเดา หมัดไว้ประมาณ 3 คืน แล้วนำไปฉีดพ่นไล่แมลง ชมพู่ทับทิมจันทร์ของ คุณธนิกา ให้ผลผลิตคิดเป็นเงินต้นละไม่ต้องกว่า 25,000 บาท ต่อปี ผู้ที่สนใจจะปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์ จะต้องศึกษาทำความเข้าใจ เรื่องดิน การใช้ปุ๋ย การให้น้ำเป็นอย่างดี เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลในปีหนึ่งๆ จะต้องตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง กิ่งที่ไม่ต้องการก็ต้องตัดออก บริเวณโคนต้นต้องเก็บกวาดเอาใบออกให้หมด ป้องกันแมลงลงไปไข่ เป็นการตักวงจรการเพาะพันธุ์ของแมลง
          พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 33 ต้น รายได้ต้น 25,000 บาท รวมแล้วรายได้ต่อไร่ต่อปีตกประมาณ 82,500 บาท เป็นรายได้ที่ดีมาก ต้นทุนน้อยมากๆ เนื่องจากปุ๋ยปลาก็ทำเอง ต้นทุนค่าปุ๋ยไม่เกิน 2,000 บาทต่อไร่ต่อปี เกษตรกร ที่ต้องการจะปลูก ชมพู่ทับทิมจันทร์ นอกจากจะต้องการทำความเข้าใจในเรื่องการปลูก การบำรุงรักษาแล้ว จะต้องเข้าใจเรื่องการตลาดด้วย ปลูกแล้วจะส่งขายตลาดที่ไหน ขาบส่งหรือขายปลีก การผลิตกับการตลาดจะต้องคู่กัน ผู้ผลิตจะต้องเป็นนักการตลาดด้วย ขอขอบคุณ คุณ ธนิกา เสมอภพ เจ้าของสวนชมพู่ทับทิมจันทร์ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เบอร์โทรศัพท์ 086-6832551

อ้างอิงที่มาจาก หนังสือ ชี้ช่องทางการทำกิน  โดยอาจารย์   สมพล    รักหวาน
ผู้พิมพ์  นาย อนุสรณ์  ชลเกษม

2 ความคิดเห็น:

ขอบคุณครับที่ให้รู้เป็นวิทยาทาน

ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ