เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

การปลูกข้าว


ทำนาอย่าเอาแต่ข้าว

       ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นคำกล่าวที่คนเราๆได้ยินกันมาตั้งแต่วัยเด็กๆ เดิมการทำนาของชาวนาเป็นการทำนาเพื่อเลี้ยงชีพ  ผืนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ครั้งโบราญกาล ดังคำกล่าวที่ว่า “น้ำมีปลา ในนามีข้าว”
          หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 25 การทำนาเริ่มเปลี่ยนแปลงจากวิธีเดิมๆ โดยเน้นการส่งออก เน้นผลผลิตต่อไร่ต้องสูงขึ้น ประเทศไทยเริ่มนำกากน้ำมันมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต ภายใต้ชื่อ (ปุ๋ยเคมี) มากระตุ้นต้นข้าวในช่วงแรกๆ ได้ผลดี เนื่องจากดินยังอุดมสมบูรณ์ ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าเดิม พืชที่ถูกกระตุ้นด้วยปุ๋ยเคมีจะเจริญเติบโตเร็วกว่าปกติ ลำต้นจะอ่อนเนื่องจากการขยายตัวของลำต้นอย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการกัดกอนของแมลง เมื่อมีแมลงระบาด ฝรั่งก็ส่งสารเคมีมาให้ชาวนาใช้ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาคเกษตรกรมาจนถึงปัจจุบัน
          ผลตามมา ต้นทุนการทำนาสูงขึ้น ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น แต่ชาวนากลับไมมีกำไรยิ่งทำยิ่งจนลง ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ ยิ่งทำยิ่งสุขภาพทรุดโทรม สภาพแวดล้อมถูกทำลาย กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เคยชุกชุมตามหนองน้ำ ตามคูน้ำ ตามทุ่งนากลับหายไป แหล่งอาหารตามธรรมชาติที่เคยชุกชุมให้คนไทยได้รับประทานกลับหายไป เนื่องจากสารเคมีตกค้างในแหล่งน้ำ ชาวนาพาตัวไม่รอดในเศรษฐกิจปัจจุบัน
          ผู้คนละทิ้งไร่นาที่เคยทำ เยาวชนคนหนุ่มสาวไม่อยากกลับคืน และ ใช้ชีวิตอยู่กับผืนนา ยอมไปเป็นลูกจ้างให้กับนายทุนสบายกว่าที่จะมาปลูกข้าวที่ได้แต่คำว่าขาดทุน ในอนาคตหากคนไทยเรายังไม่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตวิธีคิดและวิธีการที่เป็นอยู่อย่างปัจจุบัน ผืนนาที่เคยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำให้กับคนไทยไปเป็นของต่างชาติและคนไทยก็จะมีฐานะแค่ชาวนาที่เป็นลูกจ้างทำนาให้กับต่างชาติ จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ท่านผู้อ่านคงจะตอบปัญหาเองได้นี่คือที่มาของหลักคิดที่ว่า                 “ทำนาอย่าเอาแต่ข้าว”
          การทำนาอย่าเอาแต่ข้าว ไม่ต้องใช้พื้นที่มากถึง 30-40 ไร่ เพียงพื้นที่เพียง 5 -10 ไร่ก็เหลือเฟือแล้ว รายได้ครอบครัวพอเพียง และ มีเงินเหลือเก็บมากมาย หากท่านไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข ในพื้นที่ 10 ไร่ จะมีความกว้างยาวหลายสัดส่วน แต่ผมขอสมมุติว่า ความยาว 160 เมตร ความกว้าง 100 เมตร ท่านจะต้องขุดคันนาโดยรอบให้กว้าง 3 เมตร จะได้ความยาวคันนาโดยรอบทั้งหมด 520 เมตร โดยขุดให้คูอยู่ด้านใน ความกว้างของคู 2.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร จะได้ขอบคันดินขนาดกว้าง 3 เมตร รวมความกว้างของขอบพื้นที่นาทั้งหมดเป็น 5.5 เมตร บนขอบดินท่านจะปลูกไม่ยืนต้นชนิดใดก็ได้ เช่น ขนุน มะม่วงหิมะพาน มะละกอ กล้วย ผมสมมุติว่าให้ท่านปลูกมะพร้าวตาล โดยปลูกระยะห่าง 6 เมตรต่อต้น ก็จะได้ต้นมะพร้าวทั้งหมด 87 ต้นโดยรอบ มะพร้าวตาลหลังจากปีที่ 5 ไปแล้ว จะสร้างรายได้เฉลี่ยต่ำสุดต้นละ 10 บาท ต่อวัน รวมรายได้จากการทำตาลมะพร้าวรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 870 บาทต่อวันหรือ คิดต่อเดือนตกเดือนละ26,100 บาท (วิธีทำตาลมะพร้าวจะนำเสนอในท้ายบท) ในหนึ่งปีจะมีรายได้จากพืชที่ปลูกบนคันดินประมาณ 261,000 บาทต่อปี(คิดเพียง 10 เดือน)                                               
         ในนาท่านจะต้องปลูกข้าวเพื่อตอบสนองผู้บริโภค อาจจะปลูกข้าวเล็บนก ข้าวหอมปทุม ข้าวสังข์หยด ข้าวศรีรักษ์ หรือข้าวพื้นเมืองชนิดใดก็ได้ที่ผู้บริโภคนิยม โดยทำนาเพียงครั้งเดียวต่อปี ใช้ปุ๋ยชีวภาพแห้งหรือ ปุ๋ยชีวภาพน้ำบำรุง ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี วิธีทำปุ๋ยเราจะนำเสนอในท้ายบท
         ในพื้นที่ 10 ไร่เมื่อหักคันดินหักคูน้ำแล้วจะเหลือเนื้อที่ทำนาประมาณ 7 ไร่ หากดูแลดีๆ จะได้ปริมาณข้าวไร่ละ 50 ถัง 7 ไร่ก็ได้ 350 ถัง หรือ 3.5 เกวียน ถ้าขายข้าวเปลือกจะได้ประมาณ 6,000 บาท ต่อเกวียน รวมรายได้จากการขายข้าวประมาณ 21,000 บาท หากแปรรูปเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ก็จะขายได้ในราคากิโลกรัมละ 25 บาทเป็นอย่างน้อย ข้าวเปลือก 1 เกวียน หรือ 1,000  กิโลกรัม จะได้ข้าวสารไม่น้อยกว่า 600 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 25 จะขายได้ 15,000 บาทต่อข้าวสาร 600 กิโลกรัม หรือข้าวเปลือก 1,000 กิโลกรัม (หนึ่งเกวียน) ทำนาได้ข้าว 3,5 เกวียน หรือ 35,000 กิโลกรัม แปรรูปเป็นข้าวสารได้ 2,100 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 25 บาท จะได้เงินทั้งสิ้น 52,500 บาทต่อปี
          หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วห้ามเผาซัง ให้ไถกลบหรือไม่ก็เอาไปเป็นอาหารปลา หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วท่านจะปลูกข้าวโพดหวาน ปลูกมันเทศ ปลูกมันแกว ปลูกหัวไซเท้า ปลูกแตง อะไรก็แล้วแต่ความสะดวก ความถนัดและความต้องการของตลาด สมมุติว่าปลูกข้าวโพดให้ท่านยกร่องโดยใช้รถไถเดินตาม หรือรถแทรกเตอร์ก็แล้วแต่ การยกร่องเป็นผลดีตอนฝนตกเพราะจะระบายน้ำเร็วกว่า ช่วงแล้วสภาพร่องจะอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินราบ การปลูกข้าวโพด 1 ไร่ จะได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 2 ตัน หรือ 2,000 กิโลกรัม พื้นที่ 7 ไร่ จะได้ไม่น้อยกว่า 14 ตัน ราคาปกติตันละ 5,000-6,000 บาท (กรณีฝักใหญ่สมบูรณ์) วิธีปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตดีจะ                   
         นำเสนอในการปลูกข้าวโพดในบทต่อไป หากขายราคากิโลกรัมละ 5 บาท จะได้เงิน 70,000 บาท ในพื้นที่ที่ปลูกทั้งหมด 7 ไร่ รวมรายได้จากการขายข้าวสารขายน้ำตาลปี๊บที่ทำจากตาลมะพร้าว และ ข้าวโพดหวาดทั้งหมดก็จะมีรายได้รวม 383,500 บาทต่อปี ในพื้นที่รวม10 ไร่ ถ้ามีพื้นที่ 5 ไร่ ก็หาร 2 ก็จะได้ประมาณ 191750 บาทต่อปี
         ในคูน้ำให้ทำการปล่อยปลากินพืชประเภทปลากระดี่ ปลาสลิด ปลานิล ปลาหมอ ปลาดุก ปลาช่อนไม่ควรปล่อยเพราะจะกินปลาชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นปล่อยหอยขม พวกกุ้งฝอย สัตว์น้ำเหล่านี้ไม่ต้องให้อาหารโดยใช้ธรรมชาติพึ่งพิงซึ่งกันและกัน ให้เพาะไรแดงโดยใช้ฟางข้าวเป็นอาหารสัตว์น้ำเหล่านี้จะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของครอบครัวและเหลือกินก็ขายสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง
          มีท่าเพียง 10 ไร่ก็รวยได้ หากท่านนำหลักคิดนี้ไปใช้ ท่านจะตาลุกวาวเมื่ออ่านตอนนี้จบ และคงคิดได้แล้วว่าต่อไปนี้เราจะไม่จนอีกแล้ว ทำได้ผลแล้วมีเงินทอง ก็ขอให้คิดถึงเจ้าของหลักคิดบ้างนะ มีเงินมีทองแล้วถ้ายังยุ่งกับอบายมุขก็ไม่แน่ความล่มจมก็อาจจะมาหา ท่านอีกครั้งหนึ่งก็ได้นะครับ






ต่อในบท วิธีการปลูกข้าวโพดหวาน

          ข้าวโพด เป็นพืชที่ปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ข้าวโพดเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ก่อนจะทำการปลูกเกษตรกรต้องคำนึง ถึงแหล่งน้ำ คำนึงถึงฤดูกาลที่ฝนแล้ง เพื่อไม่ให้กระทบต่อผลผลิตข้าวโพด ฝนตกหนักน้ำท่วมก็กระทบต่อข้าวโพดเช่นกัน
         การปลูกข้าวโพดในพื้นที่นาข้าว เกษตรกรควรขุดคันนาโดยรอบให้สูงประมาณ 1 เมตร เอาไว้ด้านใน น้ำในคูใช้สูบรดต้นข้าวโพดช่วงฝนทิ้งช่วง หากฝนตกหนักก็สูบน้ำในคูออก ป้องกันน้ำท่วม
         การปลูกข้าวโพดในนาข้าวหรือบนร่อง เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และน้ำหมักชีวภาพ ทำการไถพรวนดิน 2 ครั้งยกร่องให้สูงประมาณ 1 ฟุต จะช่วยระบานน้ำได้ดีในช่วงฝนตกหนัก ในช่วงแล้งก็สูบน้ำปล่อยไปตามร่อง การปลูกข้าวโพดหวานไม่ต้องเพาะต้นกล้า โดยให้ปลูกโดยการหยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่อข้าวโพดเติบโตได้ประมาณ 1 คืบ ให้ถอนทิ้งให้เหลือหลุมละ 2 ต้น ระยะความห่างระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 3,200 ขุม หากมีการให้ปุ๋ยทุกๆ 30 วัน และเสริมด้วยปุ๋ยน้ำทุกๆ 7 วัน พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 2,500 กิโลกรัม ราคาขายโดยทั่วไปไม่น้อยกว่าราคากิโลกรัมละ 6 บาท หากเป็นข้าวโพดฝักใหญ่ สมบูรณ์ เมล็ดเต็มฝักก็จะมีรายได้ไม่น้อยกว่าไร่ละ 1,500 บาท โดยใช้ระยะเวลา 90 วัน


          เกษตรกรไม่ควรปลูกพร้อมกันหลายๆ ไร่ แต่ควรทยอยปลูกวันละประมาณครึ่งไร่ ตอนเก็บเกี่ยวจะได้ทยอยเก็บเกี่ยววันละครึ่งไร่ ซึ่งก็จะมีรายได้ทุกวันวันละ 7,500 บาท หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วไม่ควรปลูกซ้ำทันที เกษตรกรควรพักดินด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบพร้อมด้วยเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะทำให้ดินสมบูรณ์ตลอดไปเป็นระยะเวลาหนึ่งปี สามารถปลูกต่อได้ถึง 3 รอบ คิดเป็นเงินแล้วจะมีรายได้ไร่ละ 45,000 บาท ต่อไร่ ต่อปี การบริโภคข้าวโพดเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขว้างในปัจจุบัน อาชีพต้มข้าวโพดขาดเป็นอาชีพสร้างความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการมามากต่อมากข้าวโพดนอกจากแปรรูปเป็นข้าวโพดต้มแล้ว       

          ยังมีเมล็ดข้าวโพดคลุกเกลือ เมล็ดข้าวโพดอบเนย น้ำนมข้าวโพด ข้าวโพดคั่ว (ข้าวโพดคั่วจะใช้ข้าวโพดอีกสายพันธุ์หนึ่ง) ในบางจังหวัดมีการขายข้าวโพดริมทาง โดยขายข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดต้ม เมล็ดข้าโพดคลุกเกลือ ข้าวโพดอบเนย และน้ำนมข้าวโพด สร้างรายได้เป็นวันละเกือบหมื่นบาท ตลาดริมทางเป็นตลาดใหญ่ที่มีผู้คนสัญจรไปมามากมายในแต่ละวัน
          หากมีการขึ้นป้ายบอกล่วงหน้าก่อนถึงประมาณ 2 กิโลเมตร ว่ามีข้าวโพดต้มจำหน่าย รับรองว่าขายดีเหมือนเทน้ำเทท่า จ้าวโพดต้มควรเป็นข้าวโพดที่เพิ่มเก็บเกี่ยวมาไม่เกิน 10 ชั่วโมง รสชาติจะหอมหวาน หากขายไม่หมดก็แปรรูปเป็นข้าวโพดคลุกเกลือ ข้าวโพดอบเนย และน้ำนมข้าวโพดต่อไป

อ้างอิงที่มาจาก หนังสือ ชี้ช่องทางการทำกิน  โดยอาจารย์   สมพล    รักหวาน
ผู้พิมพ์  นาย อนุสรณ์  ชลเกษม




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ