เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การปลูกข้าวโพด


วิธีการปลูกข้าวโพดหวาน
                                                                      
          ข้าวโพด เป็นพืชที่ปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ข้าวโพดเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ก่อนจะทำการปลูกเกษตรกรต้องคำนึง ถึงแหล่งน้ำ คำนึงถึงฤดูกาลที่ฝนแล้ง เพื่อไม่ให้กระทบต่อผลผลิตข้าวโพด ฝนตกหนักน้ำท่วมก็กระทบต่อข้าวโพดเช่นกัน
         การปลูกข้าวโพดในพื้นที่นาข้าว เกษตรกรควรขุดคันนาโดยรอบให้สูงประมาณ 1 เมตร เอาไว้ด้านใน น้ำในคูใช้สูบรดต้นข้าวโพดช่วงฝนทิ้งช่วง หากฝนตกหนักก็สูบน้ำในคูออก ป้องกันน้ำท่วม
         การปลูกข้าวโพดในนาข้าวหรือบนร่อง เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และน้ำหมักชีวภาพ ทำการไถพรวนดิน 2 ครั้งยกร่องให้สูงประมาณ 1 ฟุต จะช่วยระบานน้ำได้ดีในช่วงฝนตกหนัก ในช่วงแล้งก็สูบน้ำปล่อยไปตามร่อง การปลูกข้าวโพดหวานไม่ต้องเพาะต้นกล้า โดยให้ปลูกโดยการหยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่อข้าวโพดเติบโตได้ประมาณ 1 คืบ ให้ถอนทิ้งให้เหลือหลุมละ 2 ต้น ระยะความห่างระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 3,200 ขุม หากมีการให้ปุ๋ยทุกๆ 30 วัน และเสริมด้วยปุ๋ยน้ำทุกๆ 7 วัน พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 2,500 กิโลกรัม ราคาขายโดยทั่วไปไม่น้อยกว่าราคากิโลกรัมละ 6 บาท หากเป็นข้าวโพดฝักใหญ่ สมบูรณ์ เมล็ดเต็มฝักก็จะมีรายได้ไม่น้อยกว่าไร่ละ 1,500 บาท โดยใช้ระยะเวลา 90 วัน


          เกษตรกรไม่ควรปลูกพร้อมกันหลายๆ ไร่ แต่ควรทยอยปลูกวันละประมาณครึ่งไร่ ตอนเก็บเกี่ยวจะได้ทยอยเก็บเกี่ยววันละครึ่งไร่ ซึ่งก็จะมีรายได้ทุกวันวันละ 7,500 บาท หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วไม่ควรปลูกซ้ำทันที เกษตรกรควรพักดินด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบพร้อมด้วยเติมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะทำให้ดินสมบูรณ์ตลอดไปเป็นระยะเวลาหนึ่งปี สามารถปลูกต่อได้ถึง 3 รอบ คิดเป็นเงินแล้วจะมีรายได้ไร่ละ 45,000 บาท ต่อไร่ ต่อปี การบริโภคข้าวโพดเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขว้างในปัจจุบัน อาชีพต้มข้าวโพดขาดเป็นอาชีพสร้างความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการมามากต่อมากข้าวโพดนอกจากแปรรูปเป็นข้าวโพดต้มแล้ว       
          ยังมีเมล็ดข้าวโพดคลุกเกลือ เมล็ดข้าวโพดอบเนย น้ำนมข้าวโพด ข้าวโพดคั่ว (ข้าวโพดคั่วจะใช้ข้าวโพดอีกสายพันธุ์หนึ่ง) ในบางจังหวัดมีการขายข้าวโพดริมทาง โดยขายข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดต้ม เมล็ดข้าโพดคลุกเกลือ ข้าวโพดอบเนย และน้ำนมข้าวโพด สร้างรายได้เป็นวันละเกือบหมื่นบาท ตลาดริมทางเป็นตลาดใหญ่ที่มีผู้คนสัญจรไปมามากมายในแต่ละวัน
          หากมีการขึ้นป้ายบอกล่วงหน้าก่อนถึงประมาณ 2 กิโลเมตร ว่ามีข้าวโพดต้มจำหน่าย รับรองว่าขายดีเหมือนเทน้ำเทท่า จ้าวโพดต้มควรเป็นข้าวโพดที่เพิ่มเก็บเกี่ยวมาไม่เกิน 10 ชั่วโมง รสชาติจะหอมหวาน หากขายไม่หมดก็แปรรูปเป็นข้าวโพดคลุกเกลือ ข้าวโพดอบเนย และน้ำนมข้าวโพดต่อไป

อ้างอิงที่มาจาก หนังสือ ชี้ช่องทางการทำกิน  โดยอาจารย์   สมพล    รักหวาน
ผู้พิมพ์  นาย อนุสรณ์  ชลเกษม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ