เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การปลูกผักบุ้งแก้ว


การปลูกผักบุ้งแก้วขายรายได้ดี
มีเงินไหลเข้าครอบครัวทุกวัน
       ผัก บุ้งเป็นพืชที่คู่ท้องถิ่นมานานแล้ว คนไทยนิยมรับประทานผักบุ้ง แบบสดๆ และ แบบลวก และนำไปประกอบอาหาร ผัดผักบุ้ง แกงส้มผักบุ้ง นำไปเป็นผักดองรับประทานกับขนมจีน ผักบุ้งเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินเอ เกลือแร่ โปรตีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ผักบุ้งยังมีคุณค่าทางยา รักษาโรคต่างๆได้ดังนี้
           ใบสด รสจืดใช้ตำ พอกฝี ถอนพิษสัตว์กัดต่อย
           ทั้งต้น รสจืด แก้โรคประสาท ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แก้กลากเกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา ต้มใส่เกลืออมแก้เหงือกบวม ตำพอกแก้โรคริดสีดวง แก้ฟกช้ำ ถอนพิษ โดยรับประทานเถาว์และยอด ใช้ทั้งต้นคั้นเอาน้ำทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของผื่นและสารหนู
           ราก รสจืด แก้ตกขาว แก้ไอเรื้อรัง แก้บวม แก้ปวดฟัน ผสมกับดอกมะพร้าวมะขามและขิง ต้มรับประทานแก้โรคหืด
         นับ ว่าเป็นความโชคดีของคนไทยที่ธรรมชาติได้มอบพืชผักที่มีคุณค่าที่อุดมไปด้วย สรรพคุณทางยา และ อาหารไว้ให้ได้รับประทานกัน การบริโภคผักบุ้งนับวันจะมากยิ่งขึ้น ตามสัดส่วนการเพิ่มของประชากร ผักบุ้งที่งอกขึ้นเองตามธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการบริโภค การปลูกผักบุ้งจำหน่ายจึงเป็นงานที่น่าสนใจ ตลาดมีความต้องการสูง สร้างรายได้ในระยะเวลาอันสั้น และเก็บเกี่ยวได้ยาวนาน
         การปลูกผักบุ้งแก้ว ทำได้ 2 วิธี คือการปลูกในนาเรียกว่า การทำนาผักบุ้ง และ การปลูกในคูคลอง
          การปลูกผักบุ้งในนาทำแบบเดียวกับการทำนาข้าว แบบดำนา คือ ไถและราดเทือกให้เดินเป็นโคลน ปล่อยน้ำเข้านาให้มีระดับน้ำประมาณ 1 ฟุต นำยอดผักบุ้งที่มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร มาปักดำโดยใช้ระยะห่างระหว่างขุม (กอที่ปลูก)  1 เมตร และระหว่างแถว 1เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ยอดผักบุ้ง 1600 ยอด หรือปลูกได้ 1600 ขุม ประมาณ 10 วัน ผักบุ้งก็ลงรากบักเนื้อดิน เกษตรกรควรตัดยอด จะช่วยให้ผักบุ้งแตกยอดแตกกอมากขึ้น หากมีการเสริมด้วยน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยฉีดพ่นทุก 5 วัน เพียง 1 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวสร้างเงินได้แล้ว น้ำหมักชีวภาพมีประสิทธิภาพสูงในการเร่งยอด คือ น้ำหมักจากยอดผักบุ้งและหยวกกล้วย ในอัตรา 3:2 คือ ยอดผักบุ้ง 2 กิโลกรัม หยวกอ่อน 3 กิโลกรัม หมักกับกากน้ำตาล 2 กิโลกรัม ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน นาไปผสมน้ำ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ จะเกิดการเร่งยอด ทำให้ผักบุ้งแตกยอดเร็วขึ้นเป็น 2 เท่าของปกติ
         การเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะต้องเก็บเกี่ยวแบบวันเว้นวัน พื้นที่ 1 ไร่ หากเก็บเกี่ยวหมดทั้งแปลงจะได้ประมาณ 100 กำ เป็นอย่างน้อย ขายส่งกำละ 3 บาท ขายปลีก 5 บาท (ข้อมูลปี 2550) ก็จะมีรายได้ 300 บาทต่อการเก็บเกี่ยว 1 ครั้ง เดือน หนึ่ง เก็บเกี่ยว 15 ครั้ง ก็ 15 300 ก็จะมีรายได้แล้ว 4,500 บาท ต่อไร่ต่อเดือน หากปลูกผักบุ้ง 4 ไร่ ก็จะมีรายได้เดือนละ 18,000 บาท ต่อเดือน ปีละ 316,000 บาท เป็นรายได้แบบเย็นๆ น่าสนใจนะครับ วันนี้เกิดมีธุระไม่ได้เก็บเกี่ยว ยอดผักบุ้งก็ไม่แก่ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง
            การ ปลูกผักบุ้งแก้วอีกวิธีหนึ่งคือ ปลูกในคูคลอง วิธีนี้ง่ายมาก เพียงเกษตรกรกำจักวัชพืชในคูคลองออกให้หมด นำผักบุ้งที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร มัดหลวมๆ มัดละ 6-8 ยอด หาไม้ไผ่หรือไม่ที่คงทน และตรงพอสมควร ปักกลางลำน้ำให้ห่างกัน 4 4 เมตร นำผักบุ้งไปผูกไว้กับไม้หลัก ทำการตัดยอดผักบุ้งออกทั้งหมด เพื่อให้ผักบุ้งแตกยอดมากขึ้น หมั่นฉีดพ่นปุ๋ยหมักน้ำทุก 5 วัน ประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บ ยอดผักบุ้งขายได้แล้ว
           การปลูกผักบุ้งในคูคลองมีส่วนดีคือ ระดับน้ำลึก น้ำไม่ร้อน ยอดผักบุ้งจะอวบขาวสวยน่ารับประทาน ไม่ดีคือ อาจมีเต่ากัดกิน  มัน ก็ต้องระวัง แต่มันมีเพียงบางพื้นที่เท่านั้น การเก็บเกี่ยวก็แบบวันเว้นวันเหมือนผักบุ้งในนา เก็บได้ทั้งเดือนทั้งปี และหลายหลายๆ ปี โดยไม่มีต้นทุนเพิ่ม มีรายได้แบบเย็นๆ สบายๆ หากมีพื้นที่ในคลอง 4 ไร่ ก็จะมีรายได้ไม่น้อยกว่า 18,000 บาทต่อเดือน น่าสนใจน่าครับ 

อ้างอิงที่มาจาก หนังสือ ชี้ช่องทางการทำกิน  โดยอาจารย์   สมพล    รักหวาน
นาย อนุสรณ์  ชลเกษม  ผู้พิมพ์เอกสารฉบับนี้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ