เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้สำหรับผู้ที่จะทำการค้าขาย หรือ ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน

ท่านสามารถเลือกเรื่องที่ท่านต้องการอ่านที่ด้านขวามือของท่านโดยเรามีหลายเรื่องราวที่นำมาแนะนำกันครับ

ขายข้าวต้มตามหมู่บ้าน
          การประกอบอาชีพในสังคมนี้ คนมีที่ดินมาก ที่ดินน้อย หรือไม่มีที่ดินเลยก็ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน อยู่ที่หลักคิดของท่านว่าท่านคิดอย่างไรกับอนาคต ท่านมีอะไรดีในตัวที่ท่านสามารถนำมาพัฒนาเป็นเงินเป็นทอง ท่านพร้อมที่จะเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนวิธีคิด โดยศึกษาจากคนที่มีประสบการณ์เหนือเรา และนำมาประยุกต์หรือพัฒนาให้เหมาะสมกับตัวเรา แล้วลงมือทำ พร้อมกับปรับปรุงให้เป็นแนวทางให้เป็นวิธีการของเราเอง จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เป็นที่ต้องการของตลาด ก็จะเป็นการสร้างงาน สร้างเงินให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี การประกอบอาหาร เป็นภูมิปัญญาที่คนไทยได้คิดและได้ทำไว้ มีทั้งอาหารคาวและของหวาน ล้วนเป็นของดีเรารุ่นลูกรุ่นหลานควรอนุรักษ์ และนำมาเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดี
ขายข้าวต้มตามหมู่บ้าน
          คนเดี๋ยวนี่ไม่ค่อยมีเวลาการทำอาหารเช้า แต่จำเป็นจะต้องได้รับประทาน โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต ชีพขายข้าวต้มจึงขายดีลงทุนน้อย ขายข้างต้มจะเปิดขายตามปากตรอกปากซอย ตลาดนัดก็ขายดีทั้งนั้น หากไม่มี ทำเลที่เหมาะสม การขายตรงโดยใช้จักรยานยนต์พ่วงข้างเป็นพาหนะ จัดระบบให้มิดชิด ตระเวนขายตามหมู่บ้าน ย่านชุมชนหากมีลำโพงเล็กๆติดรถ เปิดเพลงให้สัญญาณให้เป็นที่รู้กันในหมู่ลูกค้า จะเตรียมตัวล่วงหน้า วิธีนี้ขายดี การขายมีอยู่ 2 แบบคือ รอให้ลูกค้ามาหา และ ไปหาลูกค้าถึงที่ ไม่กี่ครั้งเราก็จะมีบทสรุป หมู่บ้านใด ชุมชนใด มีลูกค้าตอบรับดี และสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้

         อัตราส่วนในการทำข้าวต้มจะไม่ได้นำมาเสนอไว้ เนื่องจากเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็ทำได้ แต่จะชี้ให้เห็นว่า ตลาดหรือผู้บริโภคอยู่ที่ใด งานขายข้าวต้มเป็นงานที่ใช้เวลาน้อยในแต่ละวัน คือระหว่าง 06.00-09.00 โมงเช้า โดยใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงในแต่ละวัน งานขายข้าวต้มจึงเป็นงานที่ต้องอาศัยความรวดเร็วในการทำงาน เนื่องจากเวลาจำกัด ใช้เวลา 3 ชั่วโมง หากขายได้ 2,000 บาท ก็เท่ากับทำงานชั่วโมงละ 667 บาท เป็นงานที่น่าสนใจไหมละครับ





การทำลูกแป้งข้าวหมาก
ส่วนผสม
ชะเอมโขลกละเอียด                                      3                    ช้อนโต๊ะ
ขิงโขลกละเอียด                                            2                    ช้อนชา
แป้งข้าวเจ้า                                                    2 ¼                ถ้วยตวง
ลูกแป้งข้าวหมาก(เพื่อทำเชื้อ)                       1                     ลูก
กระเทียมโขลกละเอียด                                 1                    ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น                                                  ½                    ช้อนชา คือ ครึ่งช้อนชา
น้ำ                                                                 ½                    ถ้วยตวง คือ ครึ่งถ้วยตวง

          วิธีทำ นำชะเอม กระเทียม ขิง พริกไทย เคล้ากับแป้งแล้วร่อนกากที่เหลือหยาบๆใส่น้ำ ¼ ถ้วย คือ แบ่งถ้วย เป็น 4 ส่วนเอา 1 ส่วนของถ้วยนั้น ขนาดถ้วย 200 มิลลิลิตร เอากากทิ้ง ผสมแป้งกับน้ำ นวดเคล้าให้เข้ากัน พอนุ่มให้ปั้นได้ หยิบแป้งใส่ถ้วยพิมพ์กดให้แน่น ปูถาดหรือตะแกรงถี่ๆ ด้วยใบตองหรือแผ่นพลาสติก เอาแป้งออกจากถ้วยวางลงในถาดให้เป็นแถว นำลูกแป้งข้าวหมากเก่าบดละเอียดเร่งหรือกระชอน ร่อนให้ลงบนลูกแป้งข้าวหมากที่วางเรียงเป็นแถวให้ทั่ว เอาถาดหรือ ตะเกรงอีกใบปิดข้างบน เอาผ้าคลุมตั้งไว้ให้อุ่น 2 วัน ลูกแป้งจะขึ้นฟูเป็นปุย เอาผึ่งแดด 2-3 แดด จนแห้งสนิท เก็บใส่ขวดโหลไว้ อัตราส่วนนี้ทำได้ 30  ลูก




การดองข้าวหมากขาย
          การขายข้าวหมาก เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการมามากต่อมาก เป็นงานเบาๆ แบบสบายๆ ไม่ต้องกรำฝน กรำแดด คนวัยกลางคนทำได้ คนหนุ่มสาวทำก็ดี แม้แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ทำแล้วขายก็ยังมีรายได้ที่ไม่ต้องพึ่งลูกหลาน และยังเหลือเก็บอีกต่างหาก ทำแล้วมีความสุข
ส่วนผสม
ข้าวสารเหนียว(ข้าวเหนียวดิบ)          3      กิโลกรัม
ลูกแป้งข้าวหมาก                               3      ลูก

วิธีทำ
          นำข้าวเหนียวมาแช่น้ำประมาณ 1 ชั่งโมง ล้างให้สะอาดเอามาใส่ลังถึงนึ่งจนสุก ยกมาใส่ถาดผึ่งให้เย็น ให้แห้งพอหมาดๆ นำลูกแป้งโรยบนข้าวเหนียวจนทั่ว นำไปบรรจุในภาชนะเก็บไว้ให้มิดชิดทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก็นำมารับประทานหรือจำหน่ายได้ การจำหน่ายนิยมบรรจุในกระทงใบตอง ขายห่อละ 5 บาท ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม บรรจุได้ 30 กระทง ขายได้ 150 บาท หากขายส่ง ห่อละ 4 บาท อาชีพนี้น่าทำ นำไปฝากขายตามร้านขายขนมจีน ร้านข้าวแกง ขายให้ได้วันละ 250 ห่อ ก็มีรายได้แล้วไม่น้อยกว่า 1,000 บาทต่อวัน ขณะนี้ตามห้างสรรพสินค้าก็มีข้าวหมากขายกันแล้ว ขายดีด้วย เนื่องจากคนไทยชอบรับประทานข้าวหมาก







มะพร้าวแก้ว
ส่วนผสม
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นๆ           3     ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย          1       ถ้วยตวง
เกลือป่น                 ½            ช้อนชา
น้ำลอยดอกมะลิ               ½       ถ้วยตวง คือ ครึ่งถ้วยตวง
สีผสมอาหาร

          วิธีทำ ทำน้ำเชื่อมก่อน โดยนำน้ำตาลทราย เกลือ น้ำลอยดอกมะลิ ใส่ลงไปในกระทะทองแดง ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวไปจนกว่าจะเป็นยางมะตูมนำสีผสมอาหารใส่ลงไป ถ้าต้องการหลายสีก็แบ่งน้ำเชื่อมเป็นส่วนๆ จากนั้นก็นำมะพร้าวใส่ลงไปในน้ำเชื่อม เอาพายคนให้ทั่วเพื่อให้น้ำเชื่อมจับเส้นมะพร้าวให้ทั่ว พอน้ำเชื่อมงวดจึงยกลง จากนั้นก็เอาช้อนตักขึ้นมาวางบนถาด แล้วใช้ช้อนตะล่อมให้เป็นก้อนกลม ทำเช่นนี้จนหมด วางผึ่งให้แห้งจะได้มะพร้าวแก้วตามต้องการ









กล้วยแก้วหวานเค็ม
          กล้วยน้ำว้า เป็นพืชที่มีประโยชน์มาก ใช้ประโยชน์ได้หมดทั้งต้น ใบขายได้ใช้ห่อขนม หยวกอ่อนใช้ประกอบอาหาร ต้นแก่เฉือนเป็นเส้นตากแดดให้แห้งขายใช้มัดปูดำ หรือส่งเข้าโรงงานใช้แทนถักทอกระเป๋าแทนเชือกป่าน ปลีกล้วยใช้ประกอบอาหาร ผลสุกนำไปแปรรูปได้หลายชนิด
Ø เหนียวห่อกล้วย
Ø กล้วยบวชชี
Ø กล้วยเชื่อม
Ø กล้วยม้วน กล้วยแผ่น
Ø กล้วยฉาบ
Ø กล้วยแก้วหวาน-เค็ม
Ø กล้วยหมักทำเป็นน้ำส้มสายชู
         การแปรรูปกล้วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ เป็นรายได้หลักได้เป็นอย่างดี บางที่ก็เปิดโรงงาน ทำให้คนมีงานทำ เจ้าของกิจการร่ำรวยกันมามากต่อมาก การทำกล้วยแก้วเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ตลาดมีความต้องการสูง สีสันน่ารับประทาน รสชาติอร่อย
          วิธีทำ นำกล้วยน้ำว้าที่แก่จัด ปอกเปลือกหั่นตามยาวบางๆ นำไปทอดในน้ำมันให้กรอบ พักไว้ เคี่ยวน้ำเชื่อม โดยนำน้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 2 แก้ว ตั้งไฟเคี่ยวให้ข้นพอประมาณ ตั้งไว้ให้เย็น นำกล้วยที่ทอดสุกแล้วแช่ในน้ำเชื่อม สักพักตักขึ้นใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำไปทอดอีกครั้ง เก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่น หรือจะใส่ถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่นก็ใช้ได้
         ชนิดเค็ม ละลายน้ำเกลือกับเนย คลุกกับกล้วยที่ทอดกรอบแล้ว นำไปผัดในกระทะให้แห้งแล้วยกลง เก็บในภาชนะที่มีฝาปิดแน่น หรือจะบรรจุถุงจำหน่ายง่ายๆ  แค่นี้เองครับ
         ข้อมูลโดย คุณครูเหิม จันทพันธ์ บ้านเกาะรุ้ง ต.บ้านใหม่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 075-470622



ทำขนมจากขายรายได้ดี
          ขนมไทยที่เป็นภูมิปัญญาไทยตั้งแต่ดั้งเดิมโบราณมาแล้ว ได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันมีมากมาย ทำเงินสร้างรายได้ให้กับรุ่นลุกรุ่นหลานที่เอาดีทางนี้ ขนมจากเป็นขนมที่ได้รับความนิยมสูงในขณะนี้ มีขายกันทั่วไปแถบภาคกลาง ภาคใต้ โดยเฉาะแถบจังหวัดชลบุรี ตลาดสดเทศบาลเมืองชลบุรี ตลาดหนองมนมีขายกันมาก แถบภาคอีสานในบางจังหวัดก็มีขายเช่นกัน เช่น จังหวัดสระแก้ว ทางภาคใต้ก็มีขายกันมาก เนื่องจากวัตถุดิบไม่ว่าใบจาก หรือมะพร้าว ขนมจากดั้งเดิมมักจะเป็นขนมจากมะพร้าวอ่อน แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาที่แปลกใหม่มากขึ้น
¨   ขนมจากผสมข้าวโพด
¨   ขนมจากหัวเผือก
¨   ขนมจากหัวมัน
¨   ขนมจากกลิ่นใบเตย
¨   ขนมจากกล้วยหอม
¨   ขนมจากลูกชิด
ขนมจากสูตรโบราณ
1.  แป้งข้าวเหนียว 1 ถุงประมาณ 1 กิโลกรัม
2.  มะพร้าวทึนทึก 2-3 ลูก
3.  น้ำตาลปี๊บ + น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม จะให้รสเข้มก็ผสมน้ำผึ้งจากลงไปด้วย แล้วแต่รสนิยมของแต่ละท้องถิ่น
4. ไข่ไก่ 2-3 ฟอง
5. ใบจากเพลาส(กลางอ่อนกลางแก่) หรือ ถ้าไม่มีใบจากก็เอาใบสาคูแทนก็ได้ครับ แต่ถ้าได้ใบจากจะดีที่สุด
วิธีทำ นำส่วนประกอบทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากันจนดี นำไปห่อด้วยใบจาก กลัดด้วยไม้กลัดหรือเย็บด้วยลวดเย้บกระดาษก็ได้แล้วแต่สะดวกนำไปย่างไฟจนสุก ก็จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน หากต้องการรสชาติแบบใดก็นำส่วนผสมที่กล่าวไว้แล้วผสมลงไป ต้องการรสกล้วยหอมก็เอากล้วยหอมหั่นบางๆ ผสมลงในแป้ง ต้องการทำขนมจากข้าวโพดก็เอาข้าวโพดผสมลงไป ขนจากขายได้ทุกที่ ตามตลาดนัด บริเวณงานศพ งานวัด หรือใส่รถพ่วงข้างย่างไปขายตามหมู่บ้าน ย่านชุมชนก็ เข้าท่าน่ะครับ




การทำเนื้อต้มสามรส
          เนื้อวัวต้มสามรส เป็นอาหารที่คนไทยชื่นชอบในรสชาติ ไม่เว้นแม้แต่คนในต่างประเททศที่มาเที่ยวเมืองไทย ก็ชอบรับประทานเนื้อต้มสามรส จะต้มขายตามตลาดนัด ตามตลาดเปิดท้ายก็ดี เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการเป็นอย่างดี สัดส่วนองค์ประกอบในการทำเนื้อต้มสามรส ประกอบด้วย
v เนื้อวัวสด 5 กิโลกรัม ใช้เนื้อพื้นท้องหรือเศษเนื้อก็ได้
v น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลปี๊บ หรือ น้ำผึ้งจาก
v น้ำส้มจาก น้ำส้มสายชู หรือน้ำส้มแขก
v เกลือ หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า

          วิธีทำ นำเนื้อวัวมาหั่นเป็นชิ้นโตๆ ขนาด 2 นิ้ว นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟใส่เกลือ 2-3 ช้อนแกง ทุบหอม กระเทียม ประมาณ 10 หัวใหญ่ ทุบตะไคร้ทั้ง 4-5 ต้น ข่าทุบพอแตกประมาณ 1 หัว เพื่อดับกลิ่นคาว พอน้ำเดือดเล็กน้อยใส่เนื้อวัวลงไป ไม่ต้องคน ค่อยๆ ตักฟองออกทิ้ง ต้มไฟอ่อนๆ พอเนื้อเริ่มเปื่อยให้ใส่น้ำตาล หรือน้ำผึ้งประมาณครึ่งกิโลกรัม น้ำส้มประมาณครึ่งขวดขาว (น้ำส้มจาก) เคี่ยวไปจนเปื่อยได้ที่ ชิมดูให้เปรี้ยวนำ หวานตาม และอมเค็ม ให้ทั้งสามรสกลมกล่อม อย่าให้หวานนำมากจนเป็นแกงบวชวัว หรือเปรี้ยวจัดจนเป็นต้มส้มวัว ก่อนยกลงอย่าลืมใส่ใบมะกรูด
          วิธีต้มอีกวิธีหนึ่ง คือ นำเนื้อวัวและเครื่องปรุงทั้งหมดมาคลุกเคล้า หมักรวมกันประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วนำไปต้ม ชิมปรุงรสตามชอบ จะต้มเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือ ทำเพื่อขายสร้างรายได้ในครอบครัวก็ดีครับ







การทำไอศกรีม
ไอศกรีมกลิ่นวานิลลาสูตร 1
ส่วนผสม
1)           นมสด                                                  5             ถ้วยตวง
2)           น้ำตาลทราย                                        ½            ถ้วยตวง
3)           ไข่แดง                                                 5            ฟอง
4)           น้ำ                                                       1 ½         ถ้วยตวง
5)           กลิ่นวานิลลา                                       1            ช้อนชา
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1)           หม้อปั่นไอศกรีม
2)           น้ำแข็ง
3)           เกลือเม็ด


          วิธีทำ เอาน้ำตาลผสมกับนมสด ตั้งไฟให้เดือด ยกลง เทไข่แดงที่ตีจนขึ้นฟูลงไป ตีต่อเร็วๆ และแรงๆ จนเข้ากันดี เติมกลิ่นวานิลลาลงไปคนทิ้งไว้จนเย็น เทส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อปั่นไอศกรีม ปิดฝาให้เรียบร้อยพร้อมใบพายสำหรับกวนลงในถังปั่น ใส่น้ำแข้งรอบๆถัง จนเกือบเต็ม โรยเกลือเม็ดลงไปจนเต็ม จึงเปิดเครื่องเป็นเวลาประมาณ 20 นาที ขณะที่เดินเครื่องอยู่หากเกลือและน้ำแข็งยุบตัวลงต้องเติมน้ำแข็งและเกลือให้อยู่ในระดับเดิมจนครบ 20 นาที เครื่องจะเดินช้าลง แสดงว่าพอเป็นไอศกรีมแล้ว ดับสวิทซ์และยกออกมาก็ใช้ได้
           หมายเหตุ วิธีการใช้เครื่องทำไอศกรีมแบบไฟฟ้าใช้ได้กับไอศกรีมทุกชนิด แต่ข้อควรระวังแตกต่างกัน เช่น แบบเหลว แบบแข็ง เวลาก็แตกต่างกัน ถ้าใช้เครื่องทำไอศกรีมด้วยระบบใช้มือหรือใช้เชือกแบบโบราณก็ได้ แต่ต้องกะระยะเวลาเอาเอง




ไอศกรีมกลิ่นวานิลลาสูตร 2
ส่วนผสม
1)           แป้งไอศกรีม                             150               กรัม
2)           น้ำตาลทราย                            100               กรัม
3)           น้ำเย็น                                      23                  ออนซ์
4)           นมสด                                      14                  ออนซ์
5)           นมข้น                                     14                  ออนซ์
6)           ไข่ไก่                                       4                  ฟอง
7)           ครีมข้น                                   6                  ออนซ์
8)           กลิ่นวานิลลา                          2                 ช้อนชา
วิธีทำ  นำนมสด ½ ส่วนจากที่เตรียมไว้ มาผสมกับแป้งไอศกรีม คนให้เข้ากันอย่าให้เป็นลูกแล้วตั้งพักไว้ นมสดส่วนที่เหลือผสมกับน้ำและน้ำตาลทราย ยกขึ้นตั้งไฟกลางๆ ให้เดือดจึงเอาแป้งไอศกรีมที่ผสมแล้วใส่นมข้น ครีม และไข่ไก่กวนให้เข้ากัน ใส่ แล้วผสมกับนมสดน้ำตาลทราย ที่ตั้งไฟเสร็จร้อนๆ และใส่กลิ่นวานิลลาและสีตามต้องการ นำลงปั่นแบบถังไอศกรีมก็ใช้ได้




ไอศกรีมเข้าโพด
ส่วนผสม
1)           ข้าวโพด                             1                                    ฝัก
2)           กลิ่นตามต้องการ               1                                    ช้อนชา
3)           นมจืด                                5                                    ถ้วยตวง
4)           เนยเหลว                            2                                    ช้อนชา
5)           น้ำตาลทราย                      ½                                    ถ้วยตวง
6)           ไข่ไก่                                 5                                     ฟอง
วิธีทำ นำนมจืดยกขั้นตั้งไฟจนเดือด นำไข่แดงที่ตีจนขึ้นฟูเทลงไปผสมคนให้เข้ากัน เติมน้ำตาลทราย เนยเหลว เมื่อละลายดีแล้วใส่ข้าวโพดรอจนเย็น ใส่กลิ่นตามต้องการ นำเข้าเครื่องทำไอศกรีม

ไอศกรีมสอดสี
ส่วนผสม
1)           สีผสมอาหาร                                            2          ช้อนชา
2)           น้ำหวานเข้มข้นกลิ่นอะไรก็ได้                2          ถ้วยตวง
3)           น้ำ                                                            1          ถ้วยตวง
          วิธีทำ ผสมน้ำสะอาดกับน้ำหวานกลิ่นต่างๆ และสีตามต้องการ เทใส่พิมพ์แท่งไม่เสียบ แช่ในถังแช่ไกรีมจนแข็ง ดึงออกมารับประทานได้ ไอศกรีมจะมีสีต่างๆสวยงามตามที่เราได้ใส่สีลงไป



ไอศกรีมนมสด
ส่วนผสม
1)           นมสด                                                       ½         ถ้วยตวง
2)           น้ำแข็งทุบหรือไอศกรีมที่ปั่นแล้ว            500       กรัม  หรือ ครึ่งกิโลกรัม
3)           กลิ่นวานิลลา                                           1           ช้อนชา
          วิธีทำ นำนมสดผสมกับไอศกรีมที่ปั่นแล้วหรือนำนมสดกับน้ำแข็งทุบเข้าเครื่องปั่น เติมกลิ่นวานิลลาหรือกลิ่นอื่นตามชอบ เวลารับประทานตักใส่แกวทรงสูง ไอศกรีมจะมีฟองฟู


ไอศกรีมกะทิสด
ส่วนผสม
1) มะพร้าว                      1                                 กิโลกรัม
2) แป้งข้าวโพด               6                                 ช้อนโต๊ะ
3) นมผง                          ½                                ถ้วยตวง
4) น้ำ                               6                                ถ้วยตวง
5) น้ำตาลทราย                1 ½                             ถ้วยตวง
          วิธีทำ นำน้ำ 3 ถ้วยตวงคั้นกะทิ เหลือน้ำ 3 ถ้วยตวง ผสมแป้งข้าวโพดกับน้ำตาลทราย ตั้งไฟพอเดือด ยกลง พอน้ำอุ่นจึงละลายนมผงกับกะทิ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง นำไปปั่น เวลาปั่นให้ใส่ ขนุน มะพร้าวอ่อน ลอดช่อง และข้าวโพดด้วย จะอร่อยมากขึ้น
          หมายเหตุ ไอศกรีมที่นำมาปั่น สามารถเติมน้ำที่มีรสชาติต่างๆ อาทิ น้ำองุ่น น้ำมะเขือเทศ น้ำแอปเปิล น้ำโซดา น้ำช็อกโกเลต เป็นต้น
โดยวิธีทำคล้ายคลึงกันแต่ต้องผสมให้ถูกส่วน





ข้าวมันไก่
ส่วนผสม
1.  ไก่                                            1                 ตัว
2.  ข้าวสารเหนียว                         ½                ถ้วยตวง
3.  ข้าวสารเจ้า                               3                 ถ้วยตวง
4.  น้ำ                                             5                ถ้วยตวง
5.  น้ำมันหมู หรือ น้ำมันพืช          ¾               ถ้วยตวง
6.  กระเทียม                                  7                กลีบ
7.  ขิงแก่                                       10               แว่น
8.  พริกชี้ฟ้าแดง                            3                 เม็ด
9.  ซีอิ๊วดำ                                     2                 ช้อนโต๊ะ
10.  น้ำส้มสายชู                              ¼              ถ้วยตวง
11.  น้ำเต้าเจี้ยว                                3              ช้อนโต๊ะ
        วิธีทำ นำน้ำใส่หม้อกระทะให้ท่วมไก่ ตั้งไฟค่อนข้างแรง พอน้ำเดือดจึงใส่ไก่ ช้อนฟองทิ้งเพื่อให้น้ำใส ปิดฝาเคียวด้วยไฟอ่อนๆ รอจนไก่นุ่มจึงยกตัวไก่ขึ้นมาพักไว้ นำน้ำมากรองด้วยผ้าขาวบาง ซาวข้าวเหนียวและข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน พักใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ ใส่น้ำมันในหม้อที่จะหุงข้าว ตั้งไฟปานกลาง พอน้ำมันร้อนจัดจึงใส่กระเทียมที่ทุบพอแตกลงผัดให้ออกสีเหลืองนวล ใส่ข้าวที่พักไว้ลงผัดสักครู่ ใส่น้ำต้มไก่ 4 ถ้วย และขิงทุบพอแตก ปิดฝารอจนเดือด คนให้ทั่ว เคี่ยวสักครู่ จึงหรี่ไฟให้อ่อน เมื่อน้ำแห้งแสดงว่าข้าวสุก จึงรับประทานกับไก่ที่ต้มเป็นชิ้นๆ ตามชอบ
         วิธีทำน้ำจิ้ม นำพริกชี้ฟ้าแดงโขลกละเอียด ผสมซีอิ๊วดำ น้ำส้มสายชู และน้ำเต้าเจี้ยวเข้าด้วยกัน





ข้าวมันไก่ตอน
ส่วนผสม
1)  ไก่ตอนไม่แก่เกินไป                   1                    ตัว
2)  น้ำ                                               5                   ถ้วยตวง
3)  กระเทียม                                    5                   กลีบ
4)  น้ำมันไก่                                     ¾                  ถ้วยตวง
5)  ข้าวสารเจ้า                                  4                   ถ้วยตวง
6) แตงกวาสดเกลือป่น
วิธีทำ เกลือป่นประมาณครึ่งกำมือในก้นไก่ ต้มน้ำให้เดือด นำไก่ลงต้ม พอน้ำเริ่มเดือดเติมน้ำอีกเล็กน้อยทันที ต้มประมาณ 10 นาที นำข้าวสารซาวน้ำจนสะอาด รินน้ำให้สะเด็ด เอาหม้อตั้งไฟร้อนๆ เทน้ำมันไก่ลงไป พอเดือดจึงเทข้าวที่ซาวลงไป คนให้ทั่วปิดฝาให้สนิท นำถ่านไฟร้อนๆทับลงบนฝาหม้อ (เพื่อให้ไฟร้อนข้างบนและข้างล่าง) ประมาณ 20 นาที ข้าวจะสุก รับประทานกับไก่หั่นเป็นชิ้นตามชอบ
วิธีทำน้ำจิ้ม ขิงซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเต้าเจี้ยวบด 1 ช้อนโต๊ะ และพริกเหลืองบด 1 ช้อนชา จึงปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วดำ ½ ช้อนชา น้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง


ข้าวหมกไก่
ส่วนผสม
1) ข้าวสารเจ้าอย่างดี                      1         กิโลกรัม
2) ไก่                                              1        กิโลกรัม
3) มะเขือเทศ                                 10       ผล
4) อบเชยหักเป็นท่อนซัก              2         นิ้ว  4 ท่อน
5) หอมใหญ่                                 4-5       หัว
6) เนย                                           4          ช้อนโต๊ะ
7) ขิงแก่หั่นฝอย                           4          ช้อนโต๊ะ
8) กระเทียม                                 15          กลีบ
9) เกลือป่น                                  2           ช้อนโต๊ะ
10) ผงกะหรี่                                3           ช้อนโต๊ะ
11) นมสด                                    1           แก้ว
12) น้ำมะนาว                              4            ช้อนโต๊ะ
13) หอมแดง                               5-6         หัว
          วิธีทำ สับไก่เป็นชิ้นๆมาเคล้ากับเกลือ ผงกะหรี่ เอาขิง กระเทียม หอมแดง โขลกให้ละเอียดเข้ากับไก่ ใส่นมสด มะนาว มะเขือเทศ และหอมใหญ่หั่นแล้วใส่ลงไป ใส่อบเชย หมักไว้ประมาณ 10 นาที นำไปตักไฟพอไก่สุกตักขึ้น เอาข้าวสารล้างน้ำ รีบเอาขึ้นใส่ลงไปในหม้อที่ต้มไก่ (เติมน้ำและเกลือนิดหน่อย) ตั้งไฟอ่อนๆ คอยคนอย่าให้ติดก้นหม้อ พอน้ำแห้งเอาไก่ใส่ลงไป ปิดฝาประมาณ 20 นาที เอาหอมแดงหั่นฝอยเจียวกับเนยใช้หอมโรยหน้า รับประทานกับต้นหอมและแตงกวา
          วิธีทำน้ำจิ้ม โขลกพริกชี้ฟ้าแดง 3 เม็ด ใบสาระแหน่ ¼ ถ้วยตวง และต้นหอมซอย ¼ ถ้วยตวงให้ละเอียด ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ½ ถ้วยตวง น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง เกลือ ½ ช้อนโต๊ะ



ดาวโหลดเรื่องราวทั้งหมดในหน้านี้คลิกที่นี่



ที่มา  จาก หนังสือชี้ช่องทางการทำกินโดย  อาจารย์ สมพล รักหวาน เจ้าของหนังสือ
นาย อนุสรณ์ ชลเกษม ผู้พิมพ์ เอกสารฉบับนี้
ท่านสามารถเลือกเรื่องที่ท่านต้องการอ่านที่ด้านขวามือของท่านโดยเรามีหลายเรื่องราวที่นำมาแนะนำกันครับ

2 ความคิดเห็น:

ขอบคุณมากๆ ครับสำหรับคำแนะนำที่ดีๆ

และสำหรับเอกสารที่มีไว้ให้

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ