เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปรับปรุงดินเค็ม


ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรกรรมของ ประเทศไทย มีระดับปริมาณอินทรียวัตถุ ในดินค่อนข้างต่ำมาก ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 191 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากธาตุ อาหารในดิน จะสูญเสียไปอยู่ในส่วนของพืช เป็นปริมาณสูง จากการสำรวจวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พบว่าในแต่ละปีมีปริมาณ มากกว่า 29 ล้านตัน จากปริมาณวัสดุดังกล่าว เมื่อคำนวณเป็นปริมาณ ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 2.8, 0.7 และ 5.9 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 1,930.2, 741.4 และ 4,731.4 ล้านบาท ตามลำดับ รวมเป็นมูลค่า ของปุ๋ยทั้งสิ้น 7,043 ล้านบาท ดังนั้นการนำส่วนของพืช ออกไปจากพื้นที่การเกษตร แต่ละครั้ง จึงเท่ากับเป็นการสูญเสียอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารในดินเป็นจำนวนมาก การไถกลบตอซังเป็นการปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ได้โดยตรง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการพัฒนา ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน
ความหมายของการไถกลบตอซัง
การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบ วัสดุเศษซากพืชที่มีอยู่ในไร่นา หลังจากการ เก็บเกี่ยวผลผลิต โดยทำการไถกลบวัสดุเศษ พืชในระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก แล้วทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการ ย่อยสลายในดิน ก่อนที่จะทำการปลูกพืชต่อไป


ชนิดและปริมาณของวัสดุตอซัง
 1. วัสดุตอซังและฟางข้าว มีปริมาณมาก ถึง 26.9 ล้านตัน ต่อปี
 2. วัสดุตอซังข้าวโพด มีปริมาณ 7.8 ล้านตัน ต่อปี
3. วัสดุตอซังและเศษใบอ้อย มีปริมาณ 2 ล้านตัน ต่อปี
             4. วัสดุพืชไร่ชนิดอื่น มีปริมาณ 2.4 ล้านตันต่อปี ได้แก่ วัสดุเศษพืช ตระกูลถั่ว และข้าว ฟ่าง เป็นต้น

1. การไถกลบตอซังในพื้นที่ปลูกข้าว
            1.1กรณีการปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ชนิดเดียว ให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังข้าวไว้ใน แปลงนาเพื่อรักษาผิวหน้าดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ทำการเตรียมดิน พร้อมกับไถกลบตอซัง และฟางข้าว ทิ้งไว้เป็นเวลา 20 วัน เพื่อให้วัสดุ ตอซังย่อยสลายเสียก่อน จึงปล่อยน้ำเข้าสู่แปลง นาเพื่อเตรียมปลูกข้าวต่อไป
           1.2 การปลูกพืชไร่หลังนาหรือ ปลูกพืชหมุนเวียน ทำการไถกลบ ตอซังและฟางข้าวได้ทันที แล้วจึงปลูกพืชไร่ตามมา และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต พืชไร่แล้วให้ทิ้งตอซังไว้ เมื่อถึงฤดูทำนาจึงไถกลบวัสดุเหล่านี้ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ก่อนจะทำการปลูกข้าวต่อไป
 2. การไถกลบตอซังในพื้นที่ปลูกพืชไร่ และพืชผัก
      ในสภาพพื้นที่ดอน ซึ่งมีการปลูกพืชไร่ และพืชผักหลายชนิด ให้ทำการไถกลบ หรือสับกลบวัสดุตอซัง แต่ละครั้งก่อนทำการ ปลูกพืชใหม่ประมาณ 15 วัน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายวัสดุตอซัง
      1. ชนิดของวัสดุ
      วัสดุที่ย่อยสลายยากได้แก่ ตอซังข้าว หรือ ฟางข้าวจะใช้ระยะเวลาการย่อยสลาย ประมาณ 20 วัน สำหรับวัสดุตอซังข้าวโพด และพืชตระกูล ถั่ว จะใช้เวลาประมาณ 15 วัน
      2. อุณหภูมิ
      อุณหภูมิในดินที่มีระดับสูงขึ้น จะมีผลทำให้วัสดุตอซังมีการย่อยสลาย ได้เร็วขึ้น
      3. ความชื้น
      ดินที่มีปริมาณความชื้นพอเหมาะ จะทำให้เกิดการย่อยสลายวัสดุได้ดีขึ้น

1. ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
      ดินมีความโปร่งร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และความหนาแน่นของดินลดลง
 2. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารพืชคืนสู่ดิน
      อินทรียวัตถุ จะดูดซับธาตุอาหารในดิน และปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูป ที่เป็น      ประโยชน์ตอพืช และลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน
3. เพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน
4. ช่วยในการลดระดับความเค็มของดิน
5. รักษาระดับความเป็นกรดและด่างของดิน
      ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
6. เพิ่มผลผลิตให้กับพืช
      การไถกลบตอซังในพื้นที่เกษตรกรรมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ผลผลิต พืชเพิ่มขึ้น เมื่อ      เปรียบเทียบกับพื้นที่เผาตอซัง
 7. ลดปัญหามลภาวะสภาพแวดล้อมและอุบัติเหตุ  

      1. โครงสร้างของดินจับกันแน่นแข็ง กระด้าง และการแพร่กระจายของรากพืชลดลง
      2. เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุ ธาตุอาหาร และน้ำในดิน
      3. จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ถูกทำลาย
      4. ทำลายแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ที่เป็นประโยชน์ในไร่นา
      5. ทำให้เกิดผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อม มลภาวะเป็นพิษ และเกิดอุบัติเหตุ

ตารางการปลูกพืชทนเค็ม
การปรับปรุงดินเค็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในดินที่มีความเค็มในระดับเค็มจัดนั้น จะต้องมี การลงทุนเพื่อดำเนินการสูงมาก วิธีการหนึ่ง ที่นับว่าได้ผล ประหยัด คุ้มค่า และเกษตรกร สามารถจัดการด้วยตัวเองได้ในพื้นที่ดินเค็ม ก็คือ วิธีการคัดเลือกพืชทนเค็มบางชนิด ที่เหมาะสม สำหรับปลูกในพื้นที่ดินเค็มที่มีระดับ ความเค็มต่าง ๆ กัน ดินที่มีระดับความเค็ม ไม่มากจนเกินไปนัก ก็สามารถปลูกพืชบาง ชนิดได้ ดังได้แสดงไว้ในตารางการปลูกพืช ทนเค็ม                   

1.การนำ ไฟฟ้า (มิลลิโมห์/ ซม. หรือ เดซิซีเมน/ เมตร)
2-4
4-8
8-16
>16
2.เปอร์เซ็นต์ เกลือ (โดย ประมาณ)
0.12-0.2
0.2-0.4
0.4-0.8
>0.8
3.ชั้นคุณภาพ ของดิน
เค็มน้อย
เค็มปานกลาง
เค็มมาก
เค็มจัด
4.อาการ ของพืช
บางชนิดแสดง อาการ
พืชทั่วไปแสดง อาการ
พืชทนเค็ม บางชนิดเจริญ เติบโต และให้ ผลผลิต
พืชชอบเกลือ เท่านั้นที่เจริญ เติบโตให้ผล ผลิตได้

พืชสวน
หมายเหตุ
ช่องที่ลงพืช ตรงกับค่าของ ความเค็มข้าง บนแสดงว่า พืชนั้น สามารถ เจริญเติบโต ได้ในช่วง ความเค็มนั้น และให้ผลผลิต ลดลงไม่เกิน 50%
ถั่วฝักยาว ผักกาด ขึ้นฉ่าย พริกไทย แตงร้าน แตงไทย
บวบ กะหล่ำดอก พริกยักษ์ กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา มันฝรั่ง น้ำเต้า  กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ข้าวโพดหวาน แตงโม ผักกาดหอม องุ่น สับปะรด ผักชี
ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม แคนตาลูป
หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า กระเพรา   ผักบุ้งจีน ชะอม  

ไม้ดอก
เค็มน้อย
เค็มปานกลาง
เค็มมาก

เยอบีร่า
บานบุรี บานไม่รู้โรย กุหลาบ ชบา เฟื่องฟ้า
คุณนายตื่นสาย
เข็ม
เขียวหมื่นปี แพรเซี่ยงไฮ้ เล็บมือนาง

พืชไร่และพืชอาหารสัตว์
ถั่วเขียว
ถั่วลิสง
ถั่วแขก
ถั่วปากอ้า
งา
ข้าว
ป่าน
โสนพื้นเมือง
ทานตะวัน
ปอแก้ว
ข้าวโพด
หม่อน
ข้าวฟ่าง
หญ้าเจ้าชู้
มันสำปะหลัง
ถั่วพุ่ม
ถั่วพร้า
ถั่วอัญชัญ
โสนอินเดีย
โสนคางคก
ข้าวทนเค็ม
คำฝอย
โสนอัฟริกัน
มันเทศ
หญ้าขน
หญ้ากินนี
ผักโขม ผักกาดหัว มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม แคนตาลูป
ฝ้าย
หญ้าแพรก
หญ้าไฮบริเนเบียร์
หญ้าชันอากาศ
หญ้าแห้วหมู
ป่านศรนารายณ์
หญ้าดิ๊กซี่
หญ้าคัลลา

ไม้ผลและไม้โตเร็ว
เค็มน้อย
เค็มปานกลาง
เค็มมาก
อาโวกาโด
กล้วย
ลิ้นจี่
มะนาว
ส้ม
มะม่วง
ทับทิม
ปาล์มน้ำมัน
ชมพู่
มะกอก
แค
มะเดื่อ
กระถินณรงค์
ขี้เหล็ก
ฝรั่ง
ยูลาลิปตัส
มะม่วงหิมพานต์
มะยม
สมอ
ละมุด
พุทรา
มะขาม
มะพร้าว
อินทผลัม
สน
สะเดา
มะเขือเทศ

ที่มา
          1. ผลงานวิจัยค้นคว้าทดลองโครงการพัฒนาดินเค็ม ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ กองอนุรักษ์ดินและน้ำ
          2. ผลงานปลูกทดสอบหาพืชเศรษฐกิจทนเค็มของสถานีพัฒนา ที่ดินฉะเชิงเทรา และสถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร

ความหมายของพืชทนเค็ม                     
      หมายถึงพืชที่สามารถขึ้นอยู่รอดเจริญ เติบโตได้ในพื้นที่ดินเค็ม และให้ผลผลิตได้ อย่างครบวงจร ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีความ สามารถในการทนเค็มได้แตกต่างกัน หรือแม้แต่พืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างพันธุ์กัน ก็มีความทนต่อความเค็มไม่เท่ากัน

การคัดเลือกพันธุ์พืชบางชนิด
ที่จะนำมาปลูก ในพื้นที่ดินเค็ม                       
      จะต้องพิจารณาระดับความเค็มของดิน ก่อนว่าอยู่ในความเค็มระดั
ใด

ดินเค็มน้อย
      หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.12-0.25 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 2-4 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชที่ไม่ทนเค็ม จะเริ่มแสดงอาการ เช่น การเจริญเติบโตลดลง ใบสีเข้มขึ้น ใบหนาขึ้น ปลายใบไหม้ ปลายใบม้วนงอ ผลผลิตลดลง แต่พืชทนเค็มบางชนิดสามารถ ขึ้นได้ตามปกติ เช่น ขึ้นฉ่าย ผักกาด แตงร้าน มะม่วง ส้ม กล้วย ฯลฯ (โปรด ดูตารางพืชทนเค็มประกอบคำบรรยาย)
 
   ดินเค็มปานกลาง
      หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดินประมาณ 0.25-0.50 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมีอวัดความเค็มได้ 4-8 เดซิซีเมนต่อเมตร พืชสามัญธรรมดา โดยทั่วไป จะแสดงอาการบ้างเล็กน้อย เนื่องจากความเค็มในดิน ดังนั้นก่อน มีการปลูกพืชจึงต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเสียก่อนด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด แต่ก็มีพืชบางชนิดที่สามารถทนต่อสภาพดินที่มีความเค็ม ปานกลางนี้ได้ เช่น ข้าว ข้าวโพด หอมใหญ่ ผักกาดหอม แตงโม สับปะรด ผักชี มะกอก แค ฯลฯ

ดินเค็มจัด
       หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือในดิน ประมาณ 0.5-1.0 เปอร์เซ็นต์ วัดด้วยเครื่องมือ วัดความเค็มได้ 8-16 เดซิซีเมนต่อเมตร มีพืชบางชนิดเท่านั้นทีสามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้

          พืชที่สามารถทนต่อสภาพดินที่มีความเค็ม 0.5-0.75 % หรือ 8-12 เดซิซีเมนต่อเมตร ได้แก่ ผักกาดหอม มะเขือเทศ ข้าวพันธุ์ที่ทนเค็ม มันเทศ ขี้เหล็ก มะม่วงหิมพานต์ พืชที่ทนต่อสภาพดินที่มีความเค็ม 0.75-1.0 เปอร์เซ็นต์ หรือ 12-16 เดซิซีเมนต่อเมตร ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า ผักบุ้งจีน ชะอม ฝ้าย ละมุด พุทรา มะขาม สะเดา สนและพืชที่ขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีสภาพ ความเค็มมากกว่า 1% หรือ มากกว่า 16 เดซิซีเมนต่อเมตร ได้แก่ ชะคราม สะเม็ด แสม โกงกาง


วิธีการปลูกพืชในพื้นที่ดินเค็ม
       การเตรียมแปลงปลูกพืช จะต้องจัดทำวิธีการปลูกพืชที่ถูกต้องและ เหมาะสม เพื่อให้พืชที่ปลูกได้รับผลกระทบจากความเค็มของเกลือ ที่มีอยู่ในดินให้น้อยที่สุด ดังตัวอย่างในรูปการเตรียมแปลงปลูกพืชโดยปกติจะยกร่องแล้วปลูกตรงกลางร่อง โดยวิธีการนี้เกลือจะเคลื่อนไปสะสมในบริเวณกลางร่องพอดี เนื่องจากเป็นที่สูงและมีการระเหยน้ำสูงสุด ทำให้เมล็ดพืชหรือต้นพืชได้รับผล กระทบจากความเค็ม แต่ในบริเวณริมร่องทั้ง 2 ข้างจะมีความเค็มที่ น้อยกว่า ดังนั้นบริเวณนี้จึงเป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืช โดยอาศัยหลักการนี้จึง เป็นบริเวณที่สมควรจะปลูกพืช โดยอาศัยหลักการนี้ สามารถดัดแปลงร่าง ของแปลงให้เป็นแบบต่าง ๆ โดยให้มีส่วนสูงไว้คอยดึงดูดชื้นเพื่อให้เป็นการ สะสมเกลือไว้ในบริเวณนี้แล้วจึงปลูกพืชในบริเวณที่ต่ำกว่า

การปรับปรุงดินเค็ม โดยใช้โสนอัฟริกัน เป็นพืชปุ๋ยสด
        การปรับปรุงดินเค็ม
      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ประมาณ 107 ล้านไร่ มีพื้นที่การทำนามากที่สุดในประเทศ แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ เนื่องจากต้องอาศัยน้ำฝน ซึ่งปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่แน่นอน ดินมีความ อุดมสมบูรณ์ต่ำ และมีปริมาณธาตุอาหารในดินต่ำ สูญเสียอินทรียวัตถุไปได้ง่าย และอีกร้อยละ 17 ของพื้นที่ เป็นดินเค็ม

          วิธีการหนึ่งในการรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตของพืช ในพื้นที่ดินเค็ม คือการเพิ่ม อินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ให้แก่ดิน แต่เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจนมีราคาแพง เกษตรกรที่มีฐานะยากจน ไม่สามารถซื้อมาใช้ให้เพียงพอ กับความต้องการของพืชได้ และมีปัญหาการขาดแคลนวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ดังนั้น "ปุ๋ยพืชสด" จึงเป็นวัสดุปรับปรุงดินเค็มที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุไนโตรเจนแก่ดิน เพราะมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้อินทรียวิตถุ ุชนิดอื่น และไม่มีผลตกค้าง ที่เป็นผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

- พืชปุ๋ยสด
          คือ พืชที่ปลูกสำหรับสับกลบในดิน เพื่อปรับปรุงดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน สามารถปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน แก่พืชที่ปลูกตาม
- โสนอัฟริกัน
      เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง มีลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง ออกดอกในวันสั้น พบครั้งแรกที่เมืองเซเนกัล ประเทศ อัฟริกา
เกิดปมได้ทั้งที่ลำต้นและราก ปมที่ลำต้น จะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน จากอากาศในปม จะมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ จุลินทรีย์สามารถตรึงไนโตรเจนจากดินและอากาศ ได้มากถึง 40 กิโลกรัม ไนโตรเจนต่อไร่ และประมาณ 2 ใน 3 ของไนโตรเจนที่ตรึงได้ จะถูกปลดปล่อยลงสู่ดิน
      โสนอัฟริกันเหมาะสมที่จะใช้เป็นพืชปุ๋ยสดในดินเค็ม เพราะโตเร็ว ในมวลชีวภาพสูง ทนเค็ม ทนแล้ง ทนน้ำขัง ตรึงไนโตรเจนได้ปริมาณสูงเมื่อกลบลงไปในดิน เป็นการเพิ่ม ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติมโตของพืช เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน และส่งผล ให้พืชที่ปลูก ตามมาโดยเฉพาะข้าวได้ผลผลิตสูงขึ้น

วิธีการปลูกโสนอัฟริกันเป็นปุ๋ยพืชสด
      ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ทำลายระยะพักตัว และหว่านในนาในช่วงเดือนพฤษภาคม หรือหว่านเมล็ดโสน ในเดือนเมษายนเพื่อรอฝน โดยไม่ต้องทำลายระยะพักตัวของเมล็ด ควรสับกลบเมื่อโสนอายุประมาณ 60 วัน แล้วปักดำข้าว โสนสามารถ ปลดปล่อยไนโตรเจนให้แก่ต้นข่าวได้มากในช่วง 7-28 วัน หลังสับกลบ และการใช้โสนเป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีทำให้ข้าวได้ผลผลิต มากยิ่งขึ้น
                                                                                                                                        
วิธีการปลูกโสนอัฟริกันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
          ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือปลูก เป็นแถวในแปลงนาหรือที่ดอน อาจใช้ส่วนของต้นโสนปักชำ ก็ได้ ใช้ระยะระหว่างต้น 25 ซม. ระยะระหว่างแถว 75-100 ซม. ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ควรใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) อัตรา 8 กิโลกรัม ต่อไร่ ให้แก่โสน ในระยะแรก ในกรณีที่ดินเป็นกรดควรใส่ปูนเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตเมล็ด
           ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูโสนอัฟริกัน ที่สำคัญได้แก่ด้วงน้ำมันกินดอก หนอนกินใบ เพลี้ยดูดน้ำจากยอด หนอนเจาะฝักและเมล็ด การเก็บเมล็ดพันธุ์โสนอัฟริกัน จำเป็นต้องคลุกยากันแมลง ก่อนเก็บในห้อง ที่มีอุณหภูมิและความชื้นปกติ

การทำลายระยะพักตัวของเมล็ดโสนอัฟริกัน
      เนื่องจากเมล็ดโสนอัฟริกันมีเปลือกแข็ง ทำให้มีเปอร์เซ็๋นต์ความงอกงามต่ำ 5-20 % และงอกไม่พร้อมกัน แก้ไขได้โดยนำเมล็ดมาแช่ในน้ำเดือดนาน 1 นาที แล้วล้าง ด้วยน้ำเย็นแช่ในกรดซัลฟูริคเข้มข้น จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ ความงอกได้ถึง 80-90 % การกะเทาะเปลือกหรือขัดสี เปลือกเมล็ด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก ของเมล็ด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของ เมล็ดโสนได้ผลดี

หมายเหตุ :
      ถ้าไม่เคยปลูกโสนในพื้นที่มาก่อน หรือเคยปลูกแต่ ไม่เคยคลุกเมล็ดโสนด้วยเชื้อไรโซเบียม ควรคลุก เมล็ดโสนอัฟริกันด้วย เชื้อไรโซเบียม ORS 571 หรือ ฉีดพ่นเชื้อไรโซเบียมที่ลำต้นเมื่อโสนอายุประมาณ 30 วัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน

ที่มา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ