เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลักคิดการทำเกษตร

การทำเกษตรทำไมต้องต้องทำแบบชีวภาพ
ทำไมต้องปลูกในรูปแบบผสมผสาน
ทำไมต้องปลูกต้นไม้แบบขั้นบันได
การ ทำเกษตรแบบชีวภาพนั้นจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดบนผืนแผ่นดินที่บรรพบุรุษนั้นได้ ให้เรามา เมื่อใดที่เราได้ทำการเกษตรโดยใช้เคมีเข้ามาร่วมด้วย แน่นอนนั้นคือการทำลายผืนแผ่นดินที่ของตัวเอง เคมีดีจริงในช่วงเริ่มใช้นั่นเหละครับ แต่เมื่อไหร่ที่ท่านใช้ไปนานรับรอง ต้อนทุนที่ท่านต้องรับเป็นภาระในการลงทุนครั้งต่อไปต้องเพิ่มขึ้นปี ต่อ ปีอย่างแน่นอนครับ
การที่เราหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีมาใช้ในการเกษตรที่จริงไม่เป็นการลำบากหรือเสียเวลาเท่าไหร่เลย
เพราะ ถ้าลองบวกลบคูณหารดูแล้ว การที่เราเสียเวในการทำปุ๋ยใช้เอง เทียบกับการที่เราเอาเวลาไปหาเงินมาซื้อปุ๋ยผมว่ามันเท่าๆกันนั่นเหละ ดีไม่ดีการที่เราต้องใช้ปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากทำให้เราต้องเพิ่มจำนวนเงินใน การซื้อปุ๋ยซะด้วยซ้ำนะครับ แล้วดูเศรษฐกิจปัจจุบันนี่ซิครับ เงินก็หายาก ผลผลิตราคาต่ำ ต้นทุนราคาสูง ถ้าไม่ทำปุ๋ยใช้เองจะได้รายได้มากเท่าไหร่เชียวละครับ
 ผมว่าคิดแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นดีที่สุดแล้วหล่ะครับ
พระองค์ทรงรักคนไทย แล้วทำไมสิ่งที่ท่านแนะนำมาให้ จะไม่เป็นประโยชน์ต่อเราล่ะครับ
ทำ เอง ใช้เอง ปลูกเองเลี้ยงเอง กินเอง เหลือก็ขาย สงสารก็ให้ นี่แหละนิสัยคนไทย ที่เขาเรียกว่าน้ำใจงามครับ ท่านจะทำลายผืนแผ่นดินของท่านที่บรรพบุรุษได้มอบเป็นมรดกไว้สืบทอดให้ลูกให้ หลานด้วยสารเคมีหรือไม่ ถ้าท่านคิดได้ท่านจะทำอย่างไร

ถ้าท่านมีที่ดินประมาณ 6 ไร่ขึ้นไป

ที่ดิน ที่ท่านมีในพื้นที่ร่วมใช้สอยทั้งหมดแบ่งเป็น 10 ส่วน 3 ส่วน ใช้ปลูกพืชผักอีก 3 ส่วนใช้ปลูกไม้ยืนต้นและผลไม้ และอีก 3 ส่วนใช้เลี้ยงสัตว์บกสัตว์น้ำ 1 อีกหนึ่งส่วนที่เหลือปลูกบ้าน แนะนำให้ขุดร่องคูใน 6 ส่วนที่ปลูกพืชผักและไม้ยืนต้น ปล่อยปลากินพืชในคูน้ำ เช่น ปลานิล ปลาสวาย ปลากระดี่ ปลาตลาด ปลาดุกอุ้ย อีก 3 ส่วนที่เหลือนั้นก็ขุดบ่อเลี้ยงปลากินเนื้อสัก ส่วนเช่น ปลาดุกนา ปลาหมอ และเลี้ยงสัตว์เช่นไก่ เป็ด วัว หมู และปลูกหญ้าเท่าที่เหลือจากพื้นที่ของสัตว์เลี้ยง เล้า ไก่ เล้าหมู ควรที่จะทำให้ยื่นออกไปออกไปในบ่อที่เลี้ยงปลา และปลาที่กินเนื้อนั้นเราก็เอาเศษอาหารหรือเศษเนื้อโยนให้กิน วัวที่เลี้ยงก็สร้างไว้ให้พอดีเท่าที่สามารถจะหาหรือปลูกหญ้าให้พอกิน แต่ส่วนที่เลี้ยงสัตว์เช่น วัวแนะนำให้ทำคอกสองชั้น โดยชั้นแรกเป็นที่พักของวัว และชั้นนอกที่เหลือก็ ปลูกหญ้าไว้รอบคอกชั้นแรก ข้างๆคูน้ำหรือบ่อปลาแนะนำให้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมโดยรอบทั้งหมด โดยทิ้งระยะห่างต่อต้นไว้ประมาณ 5 เมตร
และ ที่ขอบบ่อหรือคันของคูน้ำแนะนำปลูกหญ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์ และ ส่วนพื้นที่โดยรอบของพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดให้ปลูกต้นไม้ที่ปลูกเพื่อเอาไม้ สร้างบ้านเป็นอนาคตให้ลูกต่อไป หรือปลูกเพื่อทำเงินแล้วแต่ ต้นไม้ที่ปลูกส่วนใหญ่เช่น ต้นตะเคียน ต้นจันทร์ผา ต้นเทียม ต้นยาง ต้นหมาก ต้นไม้ที่สูงๆ ไม่ควรปลูกใกล้บ้านจนเกินไป และ ต้นไม้ที่ร่มใบมากๆ นั้นควรเลือกปลูกอย่าให้ชิดกันจนเกินไปเพราะจะทำให้ต้นไม่อื่นที่ต้องการแสง แดดโตช้าเช่นเดียวกัน ต้นไม้ที่ร่มใบมากแนะนำให้ปลูกตามแนวการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์เพื่อที่จะ ไม่ให้บดบังแสงแดดให้กับต้นไม้ต้นอื่นจนเกินไป ใต้ต้นไม้ก็ลองหาต้นไม้ประเภทต้นไม้ที่ต้องการแสงรำไรมาปลูก เช่น ต้นผักเหมียง ต้นชะพลู ต้นกลอย ฯลฯ
วาง แผนพื้นที่ปลูกให้ดี แล้วค่อยหาต้นไม้ชนิดที่สามารถปลูกได้ในสภาพดิน(ควรตรวจสอบสภาพดินที่ใช้ เป็นพืนที่การปลูกว่าสามาถที่จะปลูกพืชชนิดนี้ได้หรือไม่ก่อนจะทำการปลูก ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดไดก็ตาม) แล้วค่อยเติมแต่งให้มีความหลากหลายในที่ดิน จนเราสามารถที่จะหาอะไรก็ตามมาทำเป็นอาหาร หรือ บริโภคได้เองในพื้นที่ของเราเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ