เศรษฐกิจพอเพียง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย ... ... คนเรา ถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...” “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำใช้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ความพอเพียง หมายถึง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ไม่ใช้จ่ายเกินกำลังความสามารถในการหารายได้ของตน ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ เช่น คิดก่อนใช้ สิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น ใช้จ่ายอย่างประหยัด และแบ่งปันเกื้อกูลต่อสังคม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การเก็บออมเงินไว้ใช้ เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน หรือใช้ในยามฉุกเฉิน การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้พอเพียง ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจต่าง ๆ เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง เราทุกคนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้ พอประมาณ : รายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายภายในกำลังความสามารถของตน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่โลภจนเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีเหตุผล : ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล มีความจำเป็น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ใช้สิ่งของ เกินฐานะ ไม่เล่นการพนันหรือเสพสิ่งเสพติด รู้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ มีภูมิคุ้มกัน : รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรง พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มีเงินเก็บออม ทำบุญ และแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ความรู้คู่คุณธรรม : ประกอบอาชีพที่สุจริต ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อตรงต่อหน้าที่และยืนหยัด ในความถูกต้อง อุทิศตนเพื่องาน ทำงานเพื่องาน ทำงานอย่างผู้รู้จริง รู้รักสามัคคีหากเราทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาน้อมนำประพฤติปฏิบัติ นอกจากจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจของคนในชาติ ให้มีความพอดี มีคุณธรรม มีความสุขที่แท้จริง ไม่หลงยึดติดในโลกแห่งวัตถุนิยมการจัดทำบัญชีเงินออมครัวเรือน บันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบการใช้จ่ายของครอบครัวว่า มีรายจ่ายสมดุลกับรายรับ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลตามความจำเป็น พอเหมาะกับสภาพของครอบครัวหรือไม่ หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือฟุ้งเฟ้อเกินตน จะช่วยให้สามารถมีเงินเก็บออมเพื่อเป็นรากฐานสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับชีวิตในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การปลูกอ้อย


การปลูกอ้อยคั้นน้ำขายรายได้ดีไม่มีคำว่าขาดทุน


อ้อยเป็นพืชทนแล้ง มีหลายสายพันธุ์ แต่อ้อยที่เหมาะแก่การคั้นน้ำ มี 2 สายพันธุ์ คือ อ้อยที่มีเปลือกบางปอกง่าย เมื่อคั้นน้ำจะมีสีเหลืองอมเขียว สีสวยน่ารับประทาน แต่ข้อเสียคือ เมื่อลมพัดแรงๆ จะล้มง่าย เกษตรกรต้องทำราวกั้นเอาไว้ และเมื่ออายุครบกำหนดตัด (8-9) เดือน ก็ต้องตัด หากปล่อยไว้เกินกำหนดจะแตกและกลวง ตลาดไม่ต้องการ อ้อยพันธุ์นี้คือพันธุ์สงขลา อ้อยอีกชนิดหนึ่ง เปลือกแข็งสีแดง บางแห่งเรียกว่า อ้อยพันธุ์สิงคโปร์ บางแห่งเรียกว่าอ้อยสุพรรณ อ้อยชนิดนี้มีข้อดีคือ ลำต้นตั้งตรง รากยึดเกาะแน่น โดนลมแรงๆก็ไม่ล้ม ไม่ต้องทำรางกั้น น้ำหวานเข้ม อายุเก็บเกี่ยวเกินไปบางก็ไม่มีปัญหาเรื่อไส้แตกไส้กลวง ข้อเสียหรือจุดด้อยของอ้อยประเภทนี่คือ เปลือกแข็ง ปอกอยาก ราคาถูกกว่าอ้อยเหลือง แต่การดูแลจะจัดการง่ายกว่าอ้อยเหลือง
         พื้นที่สำหรับการปลูกอ้อยชอบดินร่วนปนทราย พื้นที่ดินเหนียวก็ปลูกอ้อยได้เช่นกัน หากมีการเตรียมดินที่ดี โดยใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำชีวภาพ ให้พอเพียง อ้อยเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง หากโดนน้ำท่วม แม้อ้อยไม่ตายแต่คุณภาพความหวานจะลดลง การปลูกอ้อยในพื้นที่ลุ่มจะต้องยกร่องให้พ้นจากระดับน้ำท่วม หากเป็นพื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมก็ไม่จำเป็นจะต้องยกร่อง อาจใช้วิธีกวาดร่อง จะช่วยให้วิธีการระบายน้ำดีขึ้นในช่วงฤดูฝน การเตรียมดิน เกษตรกรจะต้องไถอย่างน้อย 2 ครั้ง เป็นการกำจัดวัชพืช ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้าเพราะเป็นการทำลายจุลินทรีย์ในดิน หลังจากนั้นก็ขุดหลุมขนาด 50 50 เซนติเมตร คือ กว้างครึ่งเมตร ยาวครึ่งเมตร ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 2 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 กอ นำท่อนพันธุ์ที่มีความยาว 3-4 ปล้อง ฝังไว้ในหลุมๆละ 2 ท่อน ก่อนการปลูกควรรองก้นด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จะทำให้อ้อยเจริญเติบโตเร็วขึ้น อ้อยในระยะแรกๆ ต้องการความชื้นสูง ควรรดน้ำวันเว้นวันและคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางข้าว จะช่วยให้ดินเก็บความชื้นได้มากขึ้น อ้อยก็จะแตกตาได้เร็วขึ้น เมื่ออ้อยเติบโตได้สูงประมาณ 1 ฟุต ให้เสริมด้วยปุ๋ยจุลินทรีย์น้ำ โดยรดราดทางดินทุกสัปดาห์ และใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกทุกเดือน ช่วงระยะเวลา 7 เดือนหากดูแลบำรุงดีๆ ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว หนึ่งกอจะให้ผลผลิต 8-10 ลำ เกษตรกรจะต้องปอกกาบใบที่เป็นใบตายออกตลอด จะช่วยให้อ้อยผิวสวย กาบใบก็ให้สุมทับที่โคนต้นก็จะเป็นปุ๋ยชั้นดีอีกต่อไป ผลผลิตชุดแรกจะได้ประมาณกอละ 100 บาท พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 กอ เกษตรกรจะมีรายได้ประมาณ 40,000 บาทต่อไร่ โดยใช้ระยะเวลาอีก 8 เดือน อีก 5 เดือนถัดไปก็จะได้ผลผลิตชุดที่สอง ชุดที่สองหากให้การดูแลดีๆ คือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักคอกทุกเดือน และราดน้ำหมักชีวภาพทุกๆ 7 วัน ผลผลิตจะสูงกว่าชุดแรกประมาณ 30% กล่าวคือ จะมีจำนวน 12-14 ลำต่อหนึ่งกอ หากมีการดูแลให้ปุ๋ยคอกอย่างต่อเนื่องเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 4 ครั้ง กว่าจะทิ้งแปลง
            หากเกษตรกรปลูกอ้อยและคั้นน้ำขายเองก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 8 เท่า อ้อยหนึ่งลำขนาด 4 กิโลกรัม หากกิโลกรัมละ 3 บาทก็เท่ากับ 12 บาท เมื่อคั้นน้ำขายก็จะได้เงิน 96 บาท เป็นงานที่สร้างรายได้เพิ่มเป็นอย่างดี น้ำอ้อยคั้นตลาดมีความต้องการสูงมาก โดยเฉพาะหน้าร้อนจะเปิดทางที่รถสัญจรไปมา หรือขายเร่ตามหมู่บ้าน ย่านชุมชน ก็สร้างเงินได้เป็นอย่างดี เกษตรกรจะต้องวางแผนการปลูกอ้อยให้เก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูร้อน และ
ท่านจะขายได้ในราคาสูง

ดาวโหลดเอกสารเพื่อดูวิธีการปลูกอ้อยที่นี่ครับ


อ้างอิงที่มาจาก หนังสือ ชี้ช่องทางการทำกิน  โดยอาจารย์   สมพล    รักหวาน
นาย อนุสรณ์  ชลเกษม  ผู้พิมพ์เอกสาร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์ + ลิงค์เพื่อนบ้าน



แลกลิงค์ของคุณได้ที่นี่ค่ะ
ลิงค์ของเรามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ

หากคุณต้องการที่จะนำลิงค์ของคุณมาเพิ่มในเว็บบล๊อกของเราให้คุณส่งข้อมูลลิงค์ของคุณมาได้ที่ได้ที่ E-mail...... < so.saichool@hotmail.com > ค่ะ แล้วเราจะทำการนำลิงค์ของคุณลงในเว็บบล๊อกของเราโดยเร็วที่สุด
หมายเหตุคุณต้องนำลิงค์ของเราลงในเว็บไซต์ของคุณให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยเราจะตรวจสอบหลังจากที่คุณส่งข้อมูลที่คุณต้องการแลกลิงค์ของคุณมายังอีเมล์ของเรา (ข้อมูลคือโค้ดลิงค์ของคุณ)
ก๊อปปี้โค้ดลิงค์ลิงค์นี่ไปวางในเว็บของคุณ