การปลูกและการดูแลรักษามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์
มะละกอเป็นผลไม้ยืนต้น
ที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งมะละกอดิบเมนูที่นิยม
กันมากก็คือ
ส้มตำ ส่วนมะละกอสุก ก็สามารถนำไปรับประทานสดเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปในลักษณะต่างๆ
ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของการปลูกมะละกอนั้นสามารถทำได้แต่ต้องใช้ความอดทนและการเรียนรู้ตลอด
สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี
ซึ่งมีรายละเอียดการปลูกและการดูแล ดังนี้
การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ : นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูก
เมื่อต้นกล้ามี
อายุได้ประมาณ 1 เดือน
วิธีการเพาะเมล็ด
1. นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำ 3 คืน โดยเปลี่ยนน้ำที่แช่บ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
2. นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยให้ใส่ 3-4 เมล็ด/ถุง
3. รดน้ำให้ชุ่ม
ประมาณ 9-10 วัน เมล็ดก็จะงอก
4. ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง
ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ
:
1. ทำการเตรียมพื้นที่
โดยการไถ ทำการตากดินไว้ประมาณ 5 วัน
2. ขุดหลุมลึกประมาณ 30ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น
และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์
3. นำต้นมะละกอปลูกในหลุม
กลบดินให้แน่น
การดูแลรักษา
1. รดน้ำพอชุ่ม
2. ใส่ปุ๋ยสูตรผสม12-15-20 โดยระยะการให้ปุ๋ยคือ 1 เดือน/ครั้ง
3. หลังจากที่ลงปลูกมะละกอไปได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอทั้ง 3 ต้นที่อยู่ในหลุมเดียวกันจะเริ่มออกดอก
ให้ทำการตัดต้นที่เป็นตัวผู้และตัวเมียทิ้ง เหลือไว้แต่ “ต้นกะเทย” เนื่องจากต้นกะเทยจะให้ผลที่ดก
และลูกมะละกอที่ออกมาจะยาวสวย เนื้อหนากว่าต้นที่เป็นตัวเมียและตัวผู้
โดยการสังเกตต้นกะเทยนั้นก็ให้ทำการแหวกกลีบดอกดู
ถ้าต้นไหนที่มีทั้งเกสรตัวเมียและตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน
4. หลังจากต้นมะละกออายุได้ 8 เดือนไปแล้ว ก็จะสามารถเก็บผลขายได้ทุกสัปดาห์ ไปจน3 ปี ต้นมะละกอจึงจะหมดอายุ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ต้องตัดทิ้ง ปลูกใหม่
เกร็ดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมะละกอฮอลแลนด์
- มะละกอฮอลแลนด์จะให้ผลผลิต
เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 กก. ต่อ ต้น
ตลอดอายุการเพาะปลูก
- หลังย้ายปลูก 9 เดือนก็สามารถเก็บผลสุกมะละกอจำหน่ายได้
โดยสังเกตดูที่ผลหากมีแต้มปรากฏอยู่บนผล 2-3 แต้มก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
- สภาพอากาศร้อนจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนดอกกระเทยให้กลายเป็นดอกตัวเมีย
และถ้ามีอากาศร้อนมาก ๆ จะทำให้มะละกอไม่ติดดอกได้
จึงควรให้มีความชื้นอย่างเพียงพอในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
- มะละกอจะมีราคาแพงขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอฮอลแลนด์
มะละกอฮอลแลนด์
ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่
กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสี
เขียวตั้งขึ้น
ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์
ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม
จุดเด่นที่มองออกง่ายมากว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น
ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน
ลักษณะเด่นของมะละกอฮอลลแลนด์ คือ ไม่มีกลิ่นยาง
เนื้อหนา รสหวาน เปลือกหนา ทนทานต่อ
โรค
ทนทานต่อการขนส่งให้ผลดก เนื้อแน่นแข็ง น้ำหนักดี รสชาติหวาน ทนทานต่อโรค
มีตลาดรองรับ มะละกอพันธุ์นี้มีอายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 กก.ต่อผล เนื้อมีสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ผลผลิตต่อต้น 60-80กิโลกรัม
มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์นี้สามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง
ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมะละกอฮอลแลนด์
สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง
ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง5.5-
5.0 ระยะปลูก 2.5×3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว
ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15 ระยะที่ติดผลอ่อน
ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น
จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง
จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่
วิธีการเก็บเกี่ยวมะละกอฮอลแลนด์
เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือ
ผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย
เทคนิคปลูกมะละกอให้เป็นต้นกระเทย
ผลผลิตสูง
ในวงการมะละกอก็เป็นที่รู้กันอยู่นะครับว่า
ต้นมะละกอที่ให้ผลผลิตดี และเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด
ก็คือมะละกอที่ออกจากต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่า ต้นกระเทยนั่นเองครับ แต่เราจะปลูกอย่างไรให้ต้นมะละกอที่เราปลูกเป็นต้นสมบูรณ์เพศเกือบ
100 % มาดูวิธีกันครับ
ก่อนอื่นให้นำต้นกล้ามะละกอที่เตรียมไว้เรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ
หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก
เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่นโดยเฉพาะรอบ ๆ
ติดกับโคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว
ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่มการปลูกมะละกอเป็นการค้า
แม้ว่าจะใช้เมล็ดจากผลมะละกอสมบูรณ์เพศ แต่เมล็ดที่ปลูกจะได้ต้นมะละกอสมบูรณ์เพศเพียง 66 เปอร์เซ็นต์ อีก 33 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้นเพศเมียซึ่งผลกลมตลาดให้ราคาถูก
ถ้าอยากได้มะละกอผลยาวมากขึ้น ให้ปลูกต้นมะละกอให้มากต้นต่อหลุม
และตัดต้นเพศเมียออกเมื่อออกดอกแล้ว จะได้ต้นสมบูรณ์เพศมากขึ้น
|
ต้นกล้ามะละกอที่พร้อมปลูก
|
แสดงจำนวนต้นต่อหลุมกับอัตราส่วนต้นเพศเมียและต้นสมบูรณ์เพศ
- จำนวน 1 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 33.33 % ต้นสมบูรณ์เพศ 66.67
%
- จำนวน 2 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 11.11 % ต้นสมบูรณ์เพศ 88.89
%
- จำนวน 3 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 3.70 % ต้นสมบูรณ์เพศ 69.30
%
- จำนวน 4 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 1.23 % ต้นสมบูรณ์เพศ 98.77
%
แต่ในทางปฏิบัติใช้ต้นปลูก 2 ต้นต่อหลุมก็พอครับ
เพราะในหนึ่งร้อยหลุมหลังจากตัดต้นตัวเมียออกจะเหลือต้นสมบูรณ์เพศเท่ากับ 88.89
x 2 = 176 ต้น ทำให้ได้ผลผลิตขายมากขึ้นด้วย
การให้น้ำมะละกอ
ถ้าเกษตรกรปลูกมะละกอช่วงต้นฤดูฝนจะช่วงประหยัดทุนและแรงงานในการให้น้ำ
โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ จะต้องให้น้ำกับต้นกล้ามะละกอจนกว่าจะตั้งตัวได้
โดยรดน้ำ 2-3 วันต่อครั้ง
และที่สำคัญคือช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลเป็นช่วงที่ต้องการน้ำมาก
การขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง ผลร่วง ผลไม่สมบูรณ์
การให้น้ำกับต้นมะละอกอย่างสม่ำเสมอจึงทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง
โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกในที่ดอนหรือในเขตจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(พื้นที่ดินร่วนปนทราย)
|
ต้นมะละกอที่สมบูรณ์จะให้ผลดก
|
การให้ปุ๋ยมะละกอ
ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้นยังไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของมะละกอ
จำต้องมีการใช้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น
เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือนโดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง ในระยะ 1 ปี ตลอดช่วงฤดูฝน
แบ่งใส่ครั้งละประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ชนิดที่มีอาหารธาตุรองฉีดพ่นทุก 14 วันต่อครั้ง หลังย้ายปลูกเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยใช้ในอัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร
ขณะเดียวกันก็อาจใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 50 กรัม หลังจากย้ายปลูก 1 เดือน
และใส่ปุ๋ยทุกเดือนจนถึงเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูกจะใส่เพิ่มเป็นต้นละ 100 กรัมทุกเดือน เมื่อมะละกอติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กรัม ผสมกับยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อต้น
*** วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน
ให้ใช้การหว่านลงบนดินบริเวณทรงพุ่ม (รัศมีทรงพุ่มของมะละกอ) แล้วพรวนดินกลบ
รดน้ำตามอย่าใส่ปุ๋ยชิดโคนต้น เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้
การกำจัดวัชพืชในสวนมะละกอ
ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่
ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้นได้
เมื่อมีวัชพืชขึ้นควรใช้วิธีการดายหญ้า
แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอจะทำให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต
หรือทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งคลุมโคนต้นและแปลงให้หนา ๆ
จะทำให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกขึ้นบริเวณนั้น ขณะมะละกอยังต้นเล็ก
ห้ามใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชใดๆ เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้
ถ้ามะละกอต้นโตแล้วและมีหญ้าฤดูเดียวงอก อาจใช้พาราควอท ฉีดฆ่าหญ้าได้
แต่ระวังอย่าให้โดนใบและผล พาราควอทใช้อัตราประมาณ 60-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
การออกดอกติดผลของมะละกอ
ต้นมะละกอเมื่อย้ายปลูกลงแปลงได้ 8-10 สัปดาห์จะเริ่มออกดอก
โดยดอกจะอยู่เหนือก้านใบ และจะเห็นชัดว่าเป็นดอกเพศใด
ถ้าเป็นต้นเพศเมียก็ตัดฟันออกในระยะนี้
ถ้าเป็นดอกสมบูรณ์เพศก็เอาไว้บำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงและติดผล
เกษตรกรต้องตรวจดูผลที่ติดว่าเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ติดผลเป็นพลูหรือให้ผลบิดเบี้ยวหรือไม่
ถ้ามีก็ให้ปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ หรือแม้ว่าผลที่ปกติในช่อเดียวกันอาจติดผลมาก
ผลที่เบียดกันจะไม่โตทำให้ไม่ได้ขนาดมาตรฐาน ควรปลิดออกเช่นกัน
ผลที่ได้มาตรฐานขนาดใกล้เคียงกันจำหน่ายง่าย
ในระยะติดผลต้องคอยกลบดินโคนต้นหรือพูนโคนป้องกันการโค่นล้ม
เพราะน้ำหนักผลไม่สม่ำเสมอกัน
หรือใช้การปลิดผลไม่ให้ต้นรับน้ำหนักมากด้านใดด้านหนึ่งก็ป้องกันต้นโค่นล้มได้
เทคนิคเพาะเม็ดมะละกอด้วยวิธีง่ายๆ
มะละกอ
ในฐานะที่ผมเป็นคนชอบกินมะละกอ ไม่ว่าจะนำไปทำเป็นส้มตำ แกงส้ม หรือมะละกอสุก ก็ต้องปลูกติดบ้านไว้สักหน่อยครับ แค่ 10 กว่าต้น ปีหน้าคิดว่าจะปลูกมะละกอฮอร์นแลนด์ในเชิงธุรกิจ ก็เลยต้องศึกษาหาความรู้เอาไว้ก่อน แต่ถึงจะศึกษามามากมายขนาดไหน..อย่างไร ก็สู้เราทดลองทำเองกับไม่ได้..จริงไหมครับ และในความรู้เรื่องการเพาะเม็ดมะละกอให้งอก 100 % ที่บอกไว้ข้างต้นนี้ ผมได้ทดลองทำแล้วครับ ก็เป็นที่น่าพอใจ จึงต้องแบ่งปันความรู้ให้เกษตรกรท่านอื่นบ้างดังนี้ครับ
6 ขั้นตอนการเพาะเม็ดมะละกอ มีดังนี้
1. เตรียมถุงเพาะชำ (ถุงดำขนาด 2 x 6 นิ้ว) แบบมีช่องระบายน้ำ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ หรือร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป
2. ใช้ดินร่วน 4 ส่วน ผสมแกลบขาว (ผสมเปลือกถั่ว หรือใบก้ามปูสับ) 6 ส่วน หากเพาะเม็ดมะละกอหน้าฝน ถ้าต้องการให้การระบายน้ำดี ควรใช้ดิน 3 ส่วน แกลบ 7 ส่วน ผสมให้เข้ากัน
3. กรอกดินที่เตรียมไว้ใส่ถุงเพาะชำ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ควรเรียงถุงเพาะเม็ดมะละกอไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนฝน และไม่ควรให้โดนแสงแดดที่จัดเกินไป
4. แช่เมล็ดมะละกอในน้ำสะอาด 1 คืน โดยไม่ต้องผสมน้ำยาชนิดอื่น
5. นำเมล็ดมะละกอที่แช่น้ำใส่ลงในถุงเพาะ โดยกดเมล็ดให้จมลงไปในดินประมาณ 1 เซนติเมตร ใส่ถุงละ 3 – 5 เม็ด จากนั้นรดน้ำพอให้ชุ่มวันละ 2 ครั้งช่วงเช้ากับบ่าย ประมาณ 2 -
4 อาทิตย์ ต้นอ่อนจะโผล่ขึ้นมาให้เห็น (แล้วแต่ฤดูกาล) ในแต่ละถุงอาจจะมีมะละกอต้นอ่อนได้ตั้งแต่ 1 - 5 ต้น ห้ามแยกต้นมะละกอในถุงเดียวกัน ออกจากกันโดยเด็ดขาด
6. ในช่วงที่มะละกอยังเป็นต้นอ่อน อย่ารดน้ำมากเกิน เพราะจะทำให้รากเน่าตายได้ สังเกตใบจะเหลืองและต้นเหี่ยวลงไปและที่สำคัญอย่าให้โดดแดดจัดเกินไป เพราะจะทำให้ใบไหม้ ต้นแห้ง และอย่าให้ปุ๋ยหรือฉีดปุ๋ยทางใบโดยเด็ดขาด และเมื่อต้นอ่อนมะละกอโตได้ประมาณ 3 อาทิตย์ จะมีใบจริงออกมา 3 -
4 ใบ สามารถนำไปปลูกในแปลงได้เลย และควรนำต้นอ่อนลงปลูกในช่วงอายุไม่เกิน 1-1.5 เดือน เพราะหากต้นอ่อนอายุมากกว่านั้น อัตราการรอดจะต่ำมาก และมะละกอจะโตช้า
ด้วย 6 ขั้นตอนง่าย ๆ เพียงเท่านี้รับรองผลเกินคาดครับ..*อย่าเพิ่งเชื่อ หากยังไม่ได้ลองทำ*
ดาวน์โหลดเนื้อหาในหน้านี้